ASEAN Way : บทเพลงประจำชาติกลุ่มอาเซียน การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต

Main Article Content

อัศวิน นาดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยเรื่อง ASEAN Way : บทเพลงประจำชาติกลุ่มอาเซียน การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเรียบเรียงเสียงประสานเพลง ASEAN Way สำหรับวงโยธวาทิต 2) เพื่อสร้างผลงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการวิจัย มีวิธีการดำเนินการวิจัย โดยแนวคิดการเรียบเรียงเสียงประสานเพลง แนวคิดในการจัดรูปแบบวงดนตรี ที่มีความสอดคล้องกับหลักการประพันธ์ดนตรีตะวันตก ซึ่งมาจากกระบวนการศึกษาบริบทของกลุ่มประเทศอาเซียนและค้นพบเอกลักษณ์ที่ชัดเจน คือ รูปแบบวงโยธวาทิต โดยการออกแบบดนตรีรูปแบบเพลงมาร์ช


            ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียบเรียงเสียงประสานเพลง ASEAN Way สำหรับวงโยธวาทิต ผู้วิจัยได้ออกแบบรูปแบบดนตรีที่มีความสอดคล้องกับลักษณะของเพลงมาร์ช ด้วยแนวคิดการสร้าง ทำนองสอดประสานตามแนวทางการประพันธ์เพลงตะวันตกด้วยเทคนิคต่าง ๆ โครงสร้างเพลง ประกอบด้วย 10 ท่อน ด้วยการพัฒนาท่อนเพลงหลัก 3 ท่อน ซึ่งผู้วิจัยได้ประพันธ์ ท่อนนำ ท่อนเชื่อม โดยแนวคิดการสร้างทำนองที่มีความสอดคล้องกับทำนองหลักของบทเพลง การประสานเสียง มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลกับทำนองด้วยคอร์ด 3 เสียง เชื่อมโยงกับโหมด เมเจอร์ และ ไมเนอร์ ด้วยเทคนิควงจรคู่ 5 (Circle of Fifth) และ สีสัน ทางดนตรีมีแนวคิด 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การสร้างทำนองสอดประสาน  2) การสร้างทำนองจากเทคนิคของแต่ละเครื่องดนตรี และ  3) การกระจายเสียงให้เครื่องดนตรีอย่างเหมาะสม โดยมีเทคนิคที่สำคัญ คือ Bass Subject ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบตามความเหมาะสมของทำนองหลัก  (2) เพื่อสร้างผลงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการวิจัย ด้วยการทบทวนวรรณกรรม และเอกสาร เพื่อสืบค้นบริบทต่าง ๆ ด้วยวิธีวิทยา นำมาสู่แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยพบว่าอัตลักษณ์ที่สำคัญของชาติอาเซียนมีความเชื่อมโยงกับระบบทหาร ซึ่งการนำเสนอที่สมบูรณ์ในวงกว้าง คือ การส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเพลงโดยการออกแบบงานสร้างสรรค์สำหรับวงโยธวาทิต


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ศรีเปารยะ. (2540). เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

กรณีศึกษา : วิเคราะห์ทำนอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2013). อาเซียนศึกษา. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

ณัชชา พันธุ์เจริญ และคณะ. (2559). ดนตรีลิขิต รวมบทความดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ. กรุงเทพฯ:

ธนาเพลส

ประทีป สุพรรณโรจน์. (2563, 10 มิถุนายน). หัวหน้ากองวิทยาการ กรมดุริยางค์ทหารบก. สัมภาษณ์.

วิรัตน์ เลี้ยงสมบูรณ์. (2540). คู่มือนักดนตรี 3. นครปฐม: สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย

มหิดล.

สำเภา ไตรอุดม และ กิตติคุณ สดประเสริฐ. (2556). โน้ตเพลง The ASEAN Way. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกรี เจริญสุข. (2531). เพลงชาติไทย. ถนนดนตรี. 2(5), 56–57.

อัศวิน นาดี. (2563). มาร์ชราชนาวิกโยธิน บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ

พลอดุลยเดช : แนวคิดการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงโดย วิจิตร์ จิตรรังสรรค์. ใน จิรายุ

ทรัพย์สิน (บ.ก.). กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสืบสานอัตลักษณ์สร้างสรรค์ภูมิปัญญาสู่การพัฒนา

ท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา น.49–59. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.