ความเครียดและแนวทางจัดการความเครียด : กรณีศึกษา ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย

Main Article Content

เจษฎา ชาตศิลป์
ศุภชัย ยาวะประภาษ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านองค์การ
ที่ก่อให้เกิดความเครียด ของกำลังพล ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย
2) ศึกษาแนวทางในการจัดการความเครียด พร้อมเสนอแนวทางที่ได้จากการศึกษา นำไปใช้ในการบริหาร
จัดการ สร้างขวัญกำลังใจ ให้กับกำลังพลของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการ
กองทัพไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากกำลังพลทั้งหมดของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล จำนวน 200 คน และ
การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือคือการสัมภาณ์ สัมภาษณ์ผู้บริหารและฝ่ายอำนวยการ จำนวน 5 คน สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านองค์การ ส่งผลต่อความเครียดของกำลัง
พลส่วนใหญ่ในระดับปานกลางถึงมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านองค์การ นอกจากนั้นผู้บริหารและ
ฝ่ายอำนวยการได้เสนอแนวทางในการจัดการความเครียดโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาในทุกปัจจัย พร้อมทั้ง
พัฒนาและส่งเสริมกำลังพลให้มีความพร้อมในทุกด้าน มีการดูแลเอาใจใส่กำลังพลในทุกระดับ เพื่อบริหาร
จัดการกำลังพลไม่ให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คัชนียา หวานอารมณ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการ

ปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลปลักแรด อำเภอบาง

ระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(1),

-24.

จิตรลดา เฮงทับทิม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงาน กลยุทธ์การจัดการความเครียด

และพฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัด

เชียงใหม่. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, วิภาดา ศรีเจริญ, นุชจรี ครองดี, สุทธญาณ์ เพ็งปรางค์.

(2562). ปัจจัยพยากรณ์ความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลในจังหวัด

พิษณุโลก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(3), 194-201

พิศสุภา ปัจฉิมสวัสดิ์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำของหัวหน้าภาควิชาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

องค์การของภาควิชาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).