วัฒนธรรมองค์การในการรับรู้ของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะวัฒนธรรมองค์การในการรับรู้ของข้าราชการองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีที่เป็นอยู่นั้นว่ามีลักษณะอย่างไร 2) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้าน
ชนรุ่น และปัจจัยด้านกลุ่มงานที่แตกต่างกันของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีว่าส่งผลต่อการ
รับรู้วัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีว่ามีความสัมพันธ์กับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การหรือไม่ อย่างไร การวิจัย
ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จำนวน 231 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมาน
ได้แก่ Independent Sample t-test, One-way ANOVA และ Pearson’s Correlation Coefficient
ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การในการรับรู้ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีมี
ลักษณะสร้างสรรค์สูงที่สุด ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านชนรุ่น และปัจจัยด้านกลุ่มงานที่แตกต่างกัน
ส่งผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยในการ
ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การในระดับปานกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยภรณ์ ดารากร ณ อยุธยา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การกับ
ความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ศึกษาธนาคารพาณิชย์ในเขตจังหวัดนครปฐม.
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2559). วัฒนธรรมองค์กร: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและปัจจัยที่กำหนด
ความสำเร็จทางวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐภัทร จริยวัฒนกร. (2551). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานฝ่ายบัญชี เครือเจริญโภคภัณฑ์.
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะและแรงจูงใจในการทำงานของคนเจเนอเรชั่น
วาย: มุมมองระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(121).178
นิเวศน์ ธรรมะ และคณะ. (2552). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: McGraw-Hill
พิชญา สดชื่นจิตต์ และพนิต ธัญมงคลสวัสดิ์. (2556). เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างความ
เข้มแข็งอย่างยั่งยืน สำนักงาน กพ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป โซลูชั่น จำกัด.
พีรยา ภู่ศรี. (2553). วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา สมุทรปราการ
เขต 1. (วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
รัก ลาภานันต์. (2547). วัฒนธรรมองค์การของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. (วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ศิริพร ม่านกลาง. (2552). วัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท บิ๊กซี
ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น
เอเชีย).
สมพงษ์ เกษมสิน. (2519). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2521). การบริหารงาน บุคคลแผนใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ไทย
วัฒนาพานิช.
สมยศ นาวีการ. (2525). การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. (2557). การศึกษาความต้องการรูปแบบสวัสดิการแบบยืดหย่นของพนักงาน
เปรียบเทียบเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย. ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 10 Women, Youth
and Family, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2531). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนา.
อุทิส ศิริวรรณ. (2559). Six Temperament with Generation Y. Journal of PADA’s, 41(174),115