การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ชุมชน บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1).เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการนำเที่ยวของมัคคุเทศก์ชุมชน
บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และ 2).เพื่อศึกษาความต้องการในการ
พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ชุมชน บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัย
ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ คนในชุมชนบ้านหว้าน ได้แก่ กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มเครื่องจัก
สาน กลุ่มทอผ้า กลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มทำขนม ผู้นำชุมชน และพระภิกษุสงฆ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการนำเที่ยว พบว่า ความรู้ทางด้านภาษาในการสื่อสารนั้น ชุมชนยังมีความ
พร้อมทางด้านการสื่อสารค่อนข้างน้อย การบรรยายให้ข้อมูลและทักษะการนำเที่ยว รวมถึงปัญหาในการ
สื่อสาร ความรู้ทางด้านวิชาการในการออกปฏิบัติงาน พบว่า มัคคุเทศก์ชุมชนบ้านหว้านยังขาดประสบการณ์
ทางด้านวิชาการในการออกปฏิบัติงาน และต้องฝึกทักษะในการบรรยายในสถานที่ท่องเที่ยว การปฏิบัติ
หน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ พบว่า มัคคุเทศก์ชุมชนบ้านหว้าน มีข้อมูลในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว
จำกัด ต้องศึกษาหาความรู้ในการเป็นมัคคุเทศก์ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ในส่วนของการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นระหว่างการนำเที่ยว พบว่า มัคคุเทศก์ชุมชนบ้านหว้าน ยังมีข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ระหว่างการนำเที่ยว
2. ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ชุมชน พบว่า ตัวแทนผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความ
ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม มีความต้องการอบรมในหัวข้อเรื่องภาษาอังกฤษ และทักษะการพูดต้องการอบรม
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้งในพื้นที่และนอกสถานที่ จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม คือ 15-20 คน และ
ระยะเวลาการอบรม 3 วัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2562). ภาพรวมสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาการท่องเที่ยวโลกอาเซียน
และไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562. จาก http://msi.citu.tu.ac.th.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 10
ธันวาคม 2562, จาก www.mots.go.th.
กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
พยอม ยุวะสุต. (2554). การมัคคุเทศก์. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2563, จาก ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์
ลิงกไ์ม่ถูกต้อง
เรวดี จุลรอด. (2562). กระบวนการฝึกอบรมและการบริหารงานฝึกอบรม. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2562,
วิโรจน์ ลักขณาอดิสร. (2550). การเรียนรู้โดยหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม
, www.se-edlearning.com
วันวิสาข์ หมื่นจง. (2560). ปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเป็นมัคคุเทศก์ ของผู้ให้บริการข้อมูลด้าน
การท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก http://gnru
psru.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการ
ท่องเที่ยวในระยะ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554.
กรุงเทพ: สำนักงาน.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ.
– 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อริสา วิชัยดิษฐ. (2556). การวิเคราะห์ความต้องการทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของ
มัคคุเทศก์ชาวไทย. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562. จาก http://cuir.car.chula.ac.th.
Chilembwe, James Malitoni and Victor Mweiwa. (2019). Tour Guides: Are they tourism
promoters and developers case study of Malawi. Retrived 23 Mareh 2020, From
Çetı̇nkaya, Mehmet Yavuz and Zafer Öter. (2019). Role of tour guides on tourist
satisfaction level in guided tours and impact on re-visiting Intention: a research in
Istanbul. Retrived 23 Mareh 2020, From. จาก https://www.content.sciendo.co