ลงสรงโทนท้าวกรุงพาณจากบทพระราชนิพนธ์สู่การแสดง

Main Article Content

ญาณวุฒิ ไตรสุวรรณ
ธีรภัทร์ ทองนิ่ม
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการรำลงสรงโทนท้าวกรุงพาณใน
การแสดงละครในเรื่องอุณรุท โดยศึกษาประวัติความเป็นมา และแนวคิดในการประพันธ์บทและการ
ประดิษฐ์กระบวนท่ารำลงสรงโทนท้าวกรุงพาณในการแสดงละครในเรื่องอุณรุท โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภ าพ
ด้วยการศึกษาเอกสาร แนวคิดการปรับเปลี่ยนบท แนวคิดการปรับปรนทางวัฒนธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก
กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการ
วิจัย การสังเกต และการปฏิบัติด้วยการรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำ โดยผ่านการรับรองจริยธรรมวิจัยใน
มนุษย์เลขที่ ว.76/2564 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผลการศึกษาพบว่า ท้าวกรุงพาณเป็นพญายักษ์ที่เป็นตัวละครฝ่ายปรปักษ์มีบทบาทสำคัญใน
วรรณกรรมเรื่องอุณรุท และเป็นตัวละครหนึ่งที่ปรากฏบทลงสรงทรงเครื่องก่อนที่จะออกไปต่อสู้กับพระอุณ
รุท ตามวิถีของตัวละครที่มีฐานันดรสูงศักดิ์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชนิพนธ์
บทลงสรงทรงเครื่องของท้าวกรุงพาณไว้ในบทละครเรื่องอุณรุท มีเนื้อหาบรรยายถึงการลงสรงและการสวม
ใส่เครื่องทรงอย่างกษัตริย์ของท้าวกรุงพาณ ตลอดจนศาสตราวุธต่าง ๆ ที่ท้าวกรุงพาณใช้สำหรับออกศึก
สงคราม ต่อมาบทพระราชนิพนธ์นี้ได้มาเป็นแบบอย่างให้กับครูปราณี สำราญวงศ์ ใช้แต่งเป็นบทร้องในการ
รำลงสรงโทนท้าวกรุงพาณ โดยมีการปรับเปลี่ยนบทพระราชนิพนธ์ด้วยการลดทอนบทจาก 8 คำกลอนเหลือ
เพียง 6 คำกลอน ตัดขั้นตอนการลงสรงออก ปรับเปลี่ยนถ้อยคำทั้งหมดแต่ยังคงจำนวนเครื่องต้นเครื่องทรง
ครบทั้ง 12 สิ่งและเรียงลำดับการสวมใส่ตามต้นฉบับ อีกทั้งการบรรจุเพลงต่าง ๆ ไว้สำหรับการแสดงเข้าไป
จากนั้นได้เชิญ ครูลมุล ยมะคุปต์ มาออกแบบกระบวนท่ารำ โดยการนำกระบวนท่ารำหลักของการรำลงสรง
และลีลาการรำของตัวละครพระละครใน เช่น การกล่อมหน้า การเยื้องตัว และการเล่นเท้า มาผสมผสานปรับใช้กับผู้แสดงที่เป็นตัวยักษ์โขน โดยยังคงลักษณะของโครงสร้างและการใช้สรีระร่างกายของตัวยักษ์ไว้ เช่น สัดส่วนการตั้งวง การลงเหลี่ยม หรือการยกเท้าของตัวยักษ์ อีกทั้งยังมีการใช้ลักษณะของการเคลื่อนไหว
อย่างตัวยักษ์เข้าไป เช่น การยืดกระทบเท้าของตัวยักษ์ และการเก็บเท้า เป็นต้น จนเกิดเป็นกระบวนท่ารำ
ชุดลงสรงโทนท้าวกรุงพา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ สายสุนีย์. (2562). กลวิธีและกระบวนท่ารำอาบน้ำแต่งตัวของตัวละครเอกฝ่ายชายในการแสดง

ละครเรื่องเงาะป่า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์).

กรม, ศิลปากร. (2545). บทละครเรื่องอุณรุท. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563, จาก

https://vajirayana.org.

กรม, ศิลปากร. . (2547). เครื่องแต่งกายละครและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรม, ศิลปากร.. (2556). โขนอัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ขวัญใจ คงถาวร. (2563, 1 พฤศจิกายน). รองคณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สัมภาษณ์.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2535). วรรณคดีไทยเรื่องอนิรุทธ์ : การศึกษาวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

เชิดชาย บุตดี. (2555). ตำนานอุษาบารส ฉบับวัดพระพุทธบาทบัวบก พัฒนาการของตัวบท และการ

อธิบายความหมายของพื้นที่ภูมิศาสตร์. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 8(3), 167-190.

ดวงจิตร จิตรพงศ์. (2514). ชุมนุมบทละครและบทขับร้อง พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2561). งานสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุดท้าวทศคีรีวงศ์ทรงเครื่อง. (รายงานการวิจัย).

กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2563, 10 กันยายน). ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พ.ศ.

สัมภาษณ์.

มนตรี มีเนียม. (2560). วรรณกรรมการแสดง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิครูลมุล ยมะคุปต์. (2548). ลมุล ยมะคุปต์ คุณานุสรณ์ ครบรอบ 100 ปี. กรุงเทพฯ: คณะศิษยานุศิษย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5

ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรรณพินี สุขสม. (2545). ลงสรงโทน : กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา. (วิทยานิพนธ์

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมศักดิ์ ทัดติ. (2563, 10 กันยายน). ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนยักษ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สัมภาษณ์.

สุนันทา มิตรงาม. (2531). การวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องอุณรุทฉบับสงขลาตามทฤษฎีรส. (วิทยานิพนธ์

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (ม.ป.ป.). การสืบทอดและปรับปรุงวัฒนธรรมไทยในการเมือง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ