มหานทีสีทันดร : ผลงานสร้างสรรค์ด้านดุริยางคศิลป์

Main Article Content

ดิฐพงษ์ อุเทศธำรง
ศรัณย์ ศรีพุทธรินทร ศรีพุทธรินทร

บทคัดย่อ

มหานทีสีทันดร : ผลงานสร้างสรรค์ด้านดุริยางคศิลป์ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง งานวิจัย
เชิงสร้างสรรค์ด้านดุริยางคศิลป์: สืบเสียงสำเนียงอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ดนตรี
พื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อประพันธ์เพลงร่วมสมัยในรูปแบบดนตรีตะวันตกผสมผสานกับ
เครื่องดนตรีพิณอีสาน อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งนำวงดนตรีไปแสดงต่อหน้า
สาธารณชน อีกทั้ง ยังได้นำเสนอบทวิเคราะห์ อรรถาธิบาย รูปแบบและเทคนิคการประพันธ์เพลง โดยใช้
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า
1. จังหวัดอุบลราชธานี มีวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านดนตรีและ
การแสดง มีนักปราชญ์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีพิณอีสาน คือ นายทองใส
ทับถนน มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังถือเป็นเอกลักษณ์
ทางดนตรีพื้นบ้านที่โดดเด่นของจังหวัดอุบลราชธานี
2. บทประพันธ์เพลงมหานทีสีทันดร บรรเลงโดยวงบิ๊กแบนด์แจ๊ส ขนาด 5x10 ความยาว 9.14
นาที ใช้จังหวะ Funk & Samba ในบันไดเสียง Dm โดยนำ “ลายเต้ยโขง” ซึ่งเป็นทำนองเพลงที่มี
ความนิยมแพร่หลาย มาเรียบเรียงสำหรับวงบิ๊กแบนด์แจ๊สผสมกับเครื่องดนตรีพิณอีสานและแคน ใช้แนวคิด
ในการจินตนาการไปถึงความกว้างใหญ่ไพศาล ความลึก ความเชี่ยวกราก แต่ยังแฝงด้วยความสงบเยือกเย็น
ของแม่น้ำโขง จึงใช้ชื่อเพลงว่า “มหานทีสีทันดร” อันเป็นชื่อพ้องกับ “มหานทีสี่พันดอน” ในความหมายของ
ชาวลาว คือ แม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ไพศาลไหลผ่านเกาะแก่งกว่าสี่พันแห่ง ทางตอนใต้ของประเทศลาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายจัดทำหนังสือ. (2535). อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร และคณะ. (2561). ดนตรีอาเซียนเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ. (2560). การเวก เพลงแคนในมิติดนตรีร่วมสมัย. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัย

รังสิต, 12,(2) 89-102.

วิเชษฐ์ สุดใด. (2562). แนวคิดเบื้องต้นและอรรถาธิบายบทประพันธ์อีสานฟิวชั่นเพลง Mr.TT. วารสารสห

วิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8,(1) 294-302.

ศุภพร สุวรรณภักดี และวีรชาติ เปรมานนท์. (2562). ดุษฎีนิพนธ์งานประพันธ์เพลง: “ลม-กระซิบ-พราย”

สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 14,(2) 118-133.