ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของอุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป บริบทของอุทยาน
แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ระดับความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่
มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี ข้อมูลการศึกษา
รวบรวมโดยใช้แบบสอบถามไปสอบถามผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันช่วงระหว่าง
เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2564 รวมจำนวน 368 ราย วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้การ
ทดสอบแบบที (t-test) และการทดสอบแบบเอฟ (F-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05
(p-value = 0.05)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้มาเยือนที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36.13 ปี
มีการศึกษาระดับ ปวช-อนุปริญญา มีอาชีพหลักเกษตรกรรม มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง/ภาคตะวันออก
มีวัตถุประสงค์ของการมาเยือนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เป็นกลุ่มที่มาเยือนกับครอบครัว และส่วนใหญ่ไม่เคยมี
ประสบการณ์การมาเยือน อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นผืนป่า
เดียวกันกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน
มา สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำพุร้อนโป่งกระทิง และจุดชมนกเงือกบาง
กะม่า สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ได้แก่ ห้องน้ำ บ้านพัก ลานกางเต็นท์ ลานจอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ผู้มาเยือนมีความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวย
ความสะดวกของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.94 ปัจจัยที่มีผล
ต่อความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการมาเยือน และประเภทของกลุ่มผู้มาเยือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564ก). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ : การจัดการ
อุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564, จาก
http://www.dnp.go.th/parkreserve/Np/Html/
Management/Manage_Np.html.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564ข). สถิตินักท่องเที่ยวและยานพาหนะในเขตอุทยาน
แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564, จาก
http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=20014.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564ค). อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน.
สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564, จาก
http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9130.
ชุมพร ขาวผ่อง. (2561). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง:กรณีศึกษาหมู่เกาะรัง ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด.
(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
บทมากร ศรีสุวรรณ. (2560). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการ
ของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภานุมาศสามสีเนียม. (2559). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
มณเฑียร วิริยะพันธุ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของ
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
วนาลี วิริยะพันธุ์. (2563). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ
แก่งตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
เอกชัย แสนดี. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยวของอุทยาน
แห่งชาติเขาชะเมา–เขาวง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3
rded). Tokyo: Harper International
Edition