การจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในย่านไชน่าทาวน์กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชมพูนุท ภาณุภาส
ณัฏฐกิตติ์ ตันสมรส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อการพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในย่านเยาวราช และเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว
เชิงพุทธศาสนาในย่านเยาวราช ใช้กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงผสานวิธี (Mix Research Method) เก็บ
รวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 387 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ(t-test Independent) หา
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย เพศ อายุกับความต้องการของ
นักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และใช้การสัมภาษณ์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยว จำนวน 4 ท่าน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในย่านเยาวราช
มีความแตกต่างกัน โดยพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี(Mean = 3.89)
มีค่าเฉลี่ยความต้องการนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มีความแตกต่างกับจาก
ช่วงวัยอื่น ๆ ได้แก่สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม การจัดรูปแบบให้บริการเป็นแบบเหมารวม การบริการ
ที่นักท่องเที่ยวควรได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05
แนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงพุทธศาสนาในย่านเยาวราช จำเป็นต้องอาศัยการประสาน
ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องมีการวางแผน
การพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
ด้านกิจกรรม ด้านรูปแบบการบริการแบบชุด และด้านการบริการการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ทางพระพุทธศาสนาที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน ซึ่งสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและสร้าง
ชื่อเสียงให้กับประเทศไทยด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ไหว้พระ 10 วัด สืบสิริสวัสดิ์ 10 รัชกาล. กรุงเทพฯ:

กระทรวงวัฒนธรรม.

ณัฎฐกิตติ์ ตันสมรส. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนา.

(ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของ

นักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญา, 26(1), 76-85.

นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2558). ย่านไชน่าทาวน์: พื้นที่การเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็น

จีนในสังคมไทยร่วมสมัย. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป พืชทองหลาง, เพราพิลาส ประสิทธิ์ บุรีรักษ์ และ ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2561). วัดงาม

นามมงคล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคลในอำเภอเมือง จังหวัด

เชียงใหม่.วารสาร ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม, 7(1), 212-242.

พระครูสันติธรรมาภิรัต. (2557). ศาสนสถานแหล่งท่องเที่ยวในพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัย

นครราชสีมา .8(1). 89-96.

ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2556). รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. บัณฑิต

วิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มนชนก จุลสิกขี. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี.

วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2). 203-210.

วชิราภรณ์ โลหะชาละ. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานเศรษฐกิจท่องเที่ยว 4 เมษายน-มิถุนายน

สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562 จาก

https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/download/article/article_20170

pdf (In Thai)

อัญชลี ชัยศรี. (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดชัยภูมิ.

วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(1), 133-140.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future: - Growth

strategies for accommodation establishments in alpine regions. Tourism

Management, 21(1), 97-116.

Chen, J. and Gursoy, D. (2001). “An Investigation of tourist' Destination Loyalty and

Preferences. International Journal of Contemporary Hospitality 13(2), 79-85.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing (4

th ed.). New York, NY: Harper &

Row.

Huang, K. & Pearce, P. (2019). Visitors' perceptions of religious tourism destinations.

Journal of Destination Marketing & Management. 14, 1-10.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative Research & Evaluation Methods: Integrating Theory and

Practice. Thousand Oaks: SAGE Publications Inc.

Wimon Sonchaem et al. (2017). Influential factors on tourism potential of Buddhist

temples: Case study of Buddhist temples in cultural conservation zone of

Bangkok Metropolitan Administration (Rattanakosin and Thonburi). Kasetsart

Journal of Social Sciences, 40(2), 466-471