การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคปกติ
จำนวน 358 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพบว่า ใช้สมาร์ตโฟนเป็นช่องทางในการรับสื่อ นิยมใช้
เฟซบุ๊กมากที่สุด มีวัตถุประสงค์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระยะเวลาที่ใช้ต่อวันมากกว่า 6 ชั่วโมง และช่วงเวลา
18.01-24.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ใช้บ่อยที่สุด นักศึกษามีการใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยรวม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารและ
ทำงานกับเพื่อนได้สะดวก รองลงมาคือ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง
และเล่นเกม ใช้สำหรับติดตามข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้สำหรับคลายความเครียด ใช้สำหรับค้นหาซื้อ
สินค้าที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก ใช้สำหรับค้นหาความรู้เพิ่มเติม ใช้สำหรับนำเสนอผลงาน และใช้สำหรับ
แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง ได้แก่ ใช้สำหรับรับทราบความเห็นของผู้อื่นจาก
ประเด็นที่สนใจ และใช้สำหรับสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ด้านการสื่อสาร ความรวดเร็วของการแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่งผล
กระทบทั้งด้านดีและไม่ดี ด้านการใช้งาน พบว่ามีการละเมิดสิทธิ์ข้อมูลความเป็นส่วนตัว และด้านอุปกรณ์
พบว่า อุปกรณ์บางประเภทอาจไม่รองรับการปรับปรุงระบบให้เป็นปัจจุบันของสื่อสังคมออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวง, ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในไทยปี 2562. สืบค้นเมื่อ
มีนาคม 2563, จาก https://www.twfdigital.com/blog/2020/04/ thailand-internet-userprofile-2019/
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 16-31.
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์, นุชจรีย์หงส์เหลี่ยม และพัชดาพรรณ อุดมเพ็ชร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม
ออนไลน์ของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
เวชบันทึกศิริราช, 8(1), 27-35.
พัชญ์สิตา เหลี่ยมทองคํา และนมิดา ซื่อสัตย์สกุลชัย. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ
นักศึกษาในรายวิชาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์. ใน ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ (บ.ก.).
ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561; 18
กรกฎาคม 2561 (หน้า 115-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วราพร ดำจับ. (2562). สื่ออสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: Social Media for Teaching
and Learning in the 21st Century. ศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 143-159
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และสุกัญญา เอมอิ่มธรรม. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน
มัธยมศึกษา ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์, 37(2), 120-142.
ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, สำนัก. (2564). สถิตินักศึกษา ภาคปกติ
ปีการศึกษา 2/2563. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก
http://www.apr.ubru.ac.th/images/stories/documents/sit/263-01-080164.pdf
สุนิ ประจิตร. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
Jin, Mao. (2014). Social Media for Learning : A mixed methods Study on high school
student’stechnology affordances and perspectives. Computer in Human Behavior,
Marquez, R. (2011). Analysis of Social Networking : Good idea or not. U.S.A.: Kennesaw
state University