ความหมายและค่านิยมในการตั้งชื่อสกุลไทยมหามงคลของกรมการปกครอง พ.ศ. 2563

Main Article Content

ณัฐภรณ์ แซ่โค้ว
มุจลินทร์ ลักษณะวงษ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและค่านิยมในการตั้งชื่อสกุลไทยมหามงคลของกรมการปกครอง พ.ศ. 2563 จำนวน 1,010 นามสกุล โดยรวบรวมข้อมูลจากบัญชีรายชื่อสกุลไทยมหามงคล    ที่กรมการปกครองเปิดให้จองออนไลน์ในปี พ.ศ. 2563


       การศึกษาชื่อสกุลไทยมหามงคลของกรมการปกครอง พ.ศ. 2563ในด้านความหมาย     พบความหมาย 14 ลักษณะ  ได้แก่ ความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองพบมากที่สุด รองลงมาคือ ความหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติ ความหมายเกี่ยวกับเชื้อสายและบุคคลในวงศ์ตระกูล ความหมายเกี่ยวกับความมั่งคั่งทางวัตถุ ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ ความหมายเกี่ยวกับความสุขและความรัก ความหมายเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา ความหมายเกี่ยวกับรูปร่างและอวัยวะ ความหมายเกี่ยวกับกลุ่มคน  ความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ความหมายเกี่ยวกับสถานที่ ความหมายเกี่ยวกับอากัปกิริยาของมนุษย์ ความหมายเกี่ยวกับลำดับและจำนวน ความหมายเกี่ยวกับนามธรรม และความหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะและสภาพ ตามลำดับ  ด้านค่านิยมที่สะท้อนจากความหมายของนามสกุล พบ4 ลักษณะ  ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งที่ปรารถนาในชีวิตพบมากที่สุด รองลงมาคือ ค่านิยมเกี่ยวกับมนุษย์และวงศ์ตระกูล ค่านิยมเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ และค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2547). การให้บริการจองชื่อสกุล ในงานกาชาด ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 6 เมษายน

ณ ซุ้มกรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.dopa.go.th/

news/Inamedoc.htm

ชาตบุษย์ นีละรัตตานนท์. (2549). ลักษณะภาษาในชื่อสกุลประทานโดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆ

ปรินายก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธนพล เอกพจน์. (2563). ค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อสกุลคนไทยอีสานในตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัด

มหาสารคาม : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย,

(2), 16-35.

นฤมล รัตน์อ่อน. (2554). ความหมาย ความเชื่อ และค่านิยมที่สะท้อนจากการตั้งชื่อนักเรียน ตำบลท่าช้าง

คล้อง จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

นารีกรุมรัมย์. (2557). นามสกุลของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดสุรินทร์: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์

ชาติพันธุ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : การ

วิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย).

พรทิพย์ ครามจันทึก. (2558). การศึกษาชื่อสกุลคนไทยที่เหมือนกับชื่อจังหวัด และอำเภอที่มีอยู่ในช่วงปี

พ.ศ. 2456-2466 ตามข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,

(1), 78-88.

พรทิพย์ ครามจันทึก. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ของนามสกุลกับชื่อท้องถิ่นในภาคกลาง. วารสาร

สหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, 5(1), 56-66.

วนิดา เจริญสุข. (2532). นามสกุลของคนไทยเชื้อสายจีน: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมชาย สำเนียงงาม. (2546). ลักษณะภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและ

กาลกิณีในชื่อของคนไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อมรดรุณารักษ์(แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น. (2524). นามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม. ม.ป.ท : ม.ป.พ.