ความต้องการศึกษาต่อและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

ปรีดี ทุมเมฆ
อรทัย เลียงจินดาถาวร
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1 คือ ประชาชนในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และนักศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 382 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 2 คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตร กรรมการประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายแบบพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยสรุปกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความต้องการศึกษาต่อปริญญาโท สาขาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เมื่อพิจารณารายด้านโดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด พบว่า ด้านความต้องการศึกษาต่อ คือ ปัจจัยรายได้และบุคคลในครอบครัวสนับสนุนให้ศึกษาต่อ ด้านความจำเป็นของหลักสูตร คือ เป็นหลักสูตรที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน และด้านความสำคัญของหลักสูตร คือ ศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้สอน รวมถึงความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตร คือ ควรมีการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ มีแนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน และหลักสูตรควรเป็นตัวกำหนดทิศทางของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาในทุก ๆ ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปรีดี ทุมเมฆ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2560). "เรียนปริญญาโท-เอกไปทำไม?". สยามรัฐ: 55(37) 6-12 มิถุนายน 2560.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษา

ระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. นครรราสีมา:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

เทศบาลนครอุบลราชธานี. (2563). ข้อมูลประชากร. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร.อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ถวิกา เมฆอัคฆกรณ์. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 462.

พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์ และพิมพ์ชนก เครือสุคนธ์. (2558). ความต้องการศึกษาต่อปริญญาเอก สาขาวิชา

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณพนัช จันทา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-

. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธาสินี ปานนาง. (2558). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตของนิสิตคณะ

รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพัฒนา เตโชชลาลัย. (2552). ความต้องการศึกษาต่อบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

มงคลกรุงเทพ : กรณีศึกษานักศึกษาปริญญาตรี ปี 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

อัมพร วิจิตรพันธ์ และอัญชลี ค้อคงคา. (2553). เศรษฐศาสตร์การศึกษาและการวางแผนกำลังคน.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Virginia,M. (1992). Carter. A Study of the Motivations for Adults to pursue a MBA Degree at

Temple University. New Jersey: Rutgers University