ศึกษาปัญหาและแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน จิตรกรรมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา สาขาทัศนศิลป์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

จตุพล รักเปี่ยม

บทคัดย่อ

ในปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาทัศนศิลป์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานีได้อาคารเรียน และห้องปฏิบัติการจิตรกรรมหลังใหม่ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เพิ่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ต้องการทราบถึงอุปสรรคและปัญหาในการใช้อาคารและห้องเรียนในปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนา
ด้านความคิดสร้างสรรค์โดยใช้วิธีการประเมินอาคารหลังการเข้าอยู่ (POE) เพื่อหาจุดบกพร่องในงาน
สถาปัตยกรรม อันนำไปสู่การหาแนวทางในการปรับปรุงห้องเรียน เพื่อให้ได้ห้องเรียนที่เหมาะสมตามความ
ต้องการของผู้ใช้อาคาร งานวิจัยนี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจำนวน 2 วิธีดังนี้1) การเก็บข้อมูลจาก
แบบสอบถาม โดยมีจำนวนประชากรในการศึกษาคือ นักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์จำนวน 71 คน และ
นักศึกษาจากหลักสูตรอื่น ๆ ที่มาใช้พื้นที่ จำนวน 29 คน รวมทั้งหมด 100 คน เครื่องมือที่ใช้คือ
แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน 2) การ
สำรวจและเก็บข้อมูลจากพื้นที่ในสภาพแวดล้อมจริง โดยใช้เครื่องวัด (Environment Meter) ในการเก็บค่า
ด้านอุณหภูมิแสงสว่าง และเสียงรบกวน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรค
ที่ก่อให้เกิดอุปสรรค์ต่อผลสัมฤทธิ์ด้านความคิดสร้างสรรค์คือ ปัจจัยด้านเสียงรบกวน ดังนั้นแนวทางการ
ปรับปรุงห้องเรียนจิตรกรรมจึงควรมุ่งเน้นการลดเสียงรบกวนจากภายนอกและภายในอาคารเรียนและการพัฒนาห้องเรียนให้มีความยืดหยุ่นให้สามารถปรับขนาดพื้นที่ห้อง ให้สามารถตอบสนองกับจำนวนผู้ใช้พื้นที่
ได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา อินทรสถิตย์. (2551). คุณภาพสภาพแวดล้อมภายใน. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลโยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ชำนาญ ห่อเกียรติ. (2540). เทคนิคการส่องสว่าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพดล สหชัยเสรี. (2546). เอกสารประกอบการสอน วิชา Environment & Behavior. ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการ คิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตร และการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร.(2561). การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายในสถาบันบัณฑิตพัฒน ศิลปวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา สถาปัตยกรรมภายใน.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิมลสิทธิ์ หรยากูร. (2535). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุนทร บุญญาธิการ. (2538).เทคนิคการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพล วิทูรปัญญากิจ. (2556). แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน กรณีศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อารี พันธ์มณี. (2537). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: 1412.