อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

อรรถพงษ์ ชุ่มเขียว
ดร.จินดา ทับทิมดี
วนัส เพ็ชรรื่น
กนกวรรณ อ่วมคำ
ภิญญาพัชญ์ พรมมา
จิราพร คันชั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นหน่วยวิเคราะห์ ดำเนินการศึกษาตามกระบวนการวิจัยและระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้ สำหรับวิธีการในการดำเนินการวิจัยได้กำหนดขั้นตอนไว้ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 288 คน พบว่า ผลการวิเคราะห์การถอถอยพหุคูณในสมการพยากรณ์รูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ý = 1.266 + 0.217 (วัฒนธรรมการปรับตัว) + 0.268 (วัฒนธรรมพันธกิจ) + 0.231 (วัฒนธรรมเอกภาพ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.212 (วัฒนธรรมการปรับตัว) + 0.228 (วัฒนธรรมพันธกิจ) + 0.175 (วัฒนธรรมเอกภาพ)  ด้านปัจจัยจูงใจ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ý = 0.494 + 0.239 (ความรับผิดชอบ) -0.093 (การได้รับการยอมรับ) + 0.310 (ความสำเร็จในการทำงาน) -0.154 (สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน) + 0.596 (ลักษณะงานที่ทำ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.239 (ความรับผิดชอบ) -0.093 (การได้รับการยอมรับ) + 0.310 (ความสำเร็จในการทำงาน) -0.154 (สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน) + 0.596 (ลักษณะงานที่ทำ) และด้านปัจจัยค้ำจุน สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ý = 0.587 + 0.683 (สภาพการทำงาน) + 0.342 (ตำแหน่งงาน) -0.253 (การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล) – 0.017 (นโยบายและการบริหารองค์กร) + 0.023 (ความมั่นคงในการทำงาน) + 0.239 (ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน) -0.131 (ค่าตอบแทนและสวัสดิการ) – 0.009 (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.683 (สภาพการทำงาน) + 0.342 (ตำแหน่งงาน) -0.253 (การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล) – 0.017 (นโยบายและการบริหารองค์กร) + 0.023 (ความมั่นคงในการทำงาน) + 0.239 (ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน) -0.131 (ค่าตอบแทนและสวัสดิการ) – 0.009 (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. กระทรวงพาณิชย์. 2563. สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับนแรก พ.ศ. 2558-2562 (Online) http://www2.ops3.moc.go.th ค้น 05 กันยายน 2563.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. 2563. ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่, ภาคตะวันออก, จังหวัดกาญจนบุรี (Online). www.diw.go.th, ค้น 30 พฤศจิกายน 2563.

กันต์สุดา โกญจนาท. 2558. วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการทำงานและการรับรู้ในกระบวนการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). 2563. วิจัยกรุงศรี/บทวิเคราะห์ธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-65, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, (Online) www.krungsri.com ค้น 5 ตุลาคม 2563.

ปรัชญา ดาดี. 2557. วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานส่วนกลางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กรุงเทพมหานคร., บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ปริณ บุญฉลวย. 2556. วัฒนธรรมองค์การ องค์การการเรียนรู้กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม: ตัวแบบสมการโครงสร้าง, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม) สาขาพัฒนาและการจัดการสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิชิต ปราณีพร้อมพงศ์. 2559. ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ห้างเซ็นทรัล ดีพาทเมนท์สโตร์ จำกัด, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณา อาวรณ์. 2557. แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงาน สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2563. ข้อมูลพื้นฐานด้านกายภาพจังหวัดกาญจนบุรี (Online). www.diw.go.th, ค้น 9 กันยายน 2563.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2564 (Online). www.nesdc.go.th, ค้น 7 กันยายน 2563.

อนันต์ธนา สามพุ่มพวง. 2558. แรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

George and Sabapathy. 2011. “Work Motivation of Teachers: Relationship with Organization Commitment, Christ University, Bangalore, India” Journal of Canadian Social Science 7 (1): 90-99.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. 1959. The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Ismail, D. M., Asmawi, M., & Widodo, S. E. 2020. “The Effect of Organizational Culture, Leadership Style, and Trust to Organizational Commitments of LP3I Polytechnic Jakarta Lectures, Universitas Negeri, Jakarta” International Journal of Human Capital Management, 4 (1) :16-25.

Jufrizen, Gultom, K. D., Sitorus, A. S., Sari, M., & Nasution, I. M. 2018. “The Effect of Organizational Culture and Islamic Work Ethic on Permanent Lecturers’ Job Satisfaction, Organizational Commitment and Work Performance at Private Islamic Universities in The City of Medan, University of Muhammadiyah Sumatera Utara Indonesia” Proceeding 1st International Conference of Economic Studies (ICOES): 179-186.

Maslow, A. H. 1954. Motivation and personality. New York: Harper and Row.

Salleh, M. S., Zahari, M. S. A., Said, M. S. N., & Ali, O. R. S. 2016. “The Influence of Work Motivation on Organizational Commitment in The Workplace, Faculty of Business Management, Universiti Teknologi MARA, Dungun, Terengganu, Malaysia” Journal of Applied Environmental and Biological Sciences 6(5S) : 139-143.

Singh. 2007. “Predicting organizational commitment through organizational culture: A study of automobile industry in India, Faculty of Management Studies, University of Delhi” Journal of Business Economics and Management 7 (1): 29-37.

Steer, R. M. and Porter, L. W. 1977. Motivation and work behavior. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.