การสร้างนวัตกรรมทางด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ ชุด ลายศิลป์เสียงอีสาน

Main Article Content

สุนิศา โพธิแสนสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการสร้างนวัตกรรมทางด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ชุดลายศิลป์เสียง
อีสาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ชุด ลายศิลป์เสียง
อีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) ศึกษาข้อมูลด้านเอกสารต่าง ๆ
3) สื่อสารสนเทศอื่น ๆ และ 4) ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดในการสร้าง
งานนาฏศิลป์ชุดใหม่จากศิลปะการแสดงรำวงแบบพื้นบ้านอีสาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ ตระหนัก
เห็นคุณค่าของการฟ้อนรำพื้นบ้านที่เป็นวัฒนธรรมของชาวอีสาน อันจะเกิดเป็นองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อ
ด้านการเรียนการสอน และการสืบทอด ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะการแสดง จึงเกิดแรงบันดาลใจในการ
สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ชุดใหม่ในรูปแบบของการรำพื้นบ้านอีสาน ผู้สร้างสรรค์ได้นำแนวคิดทาง
ศิลปะการแสดงรำวงประยุกต์ของท่าน ดร.สุทิน คลังแสง มาสร้างสรรค์เป็นการแสดงชุดใหม่ ในลักษณะของ
การแสดงรำวงประยุกต์พื้นบ้านแบบภาคอีสาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาส เพ็งโคนา. (2559). การพัฒนาตนเองสู่การเป็นนักวิจัยเพื่อ “ท้องถิ่น”. ชุมพร: มหาวิทยาลัยแม่

โจ้ – ชุมพร.

ดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2556). งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวิจัย

สุมิตร เทพวงษ์. (2554). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์เพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุทิน คลังแสง. (2564, 15 ตุลาคม) ผู้บริหารรำวงคณะสวรรค์บ้านนา ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัด

มหาสารคาม. สัมภาษณ์.