การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจากการเล่าเรื่องพระมหาชนกสำหรับนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษปีที่ ๒ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจากการเล่าเรื่องพระมหาชนกสำหรับนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาในรายวิชาภาษาอังกฤษในสื่อมวลชน จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมินการสื่อสารภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน และ 2) การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมการเรียนในระบบออนไลน์เพื่อวิเคราะห์และสรุปหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษในสื่อมวลชน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 3 สัปดาห์ ของภาคการศึกษาที่ 1/64 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังการเรียนพบว่ามีการพัฒนาขึ้นโดยคะแนนในการประเมินแต่ละด้านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่มีความสนุกสนานเพลิดกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น จากการสังเกตและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชานี้พบว่ามี 5 แนวทางหลักๆคือ 1) การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2) การแทรกบทเรียนฝึกการออกเสียง 3) การฝึกฝนเพื่อสร้างความมั่นใจในการสื่อสาร 4) การแทรกกิจกรรมที่หลากหลาย 5) การเพิ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัชปภา โพธิ์พุ่มและคณะ. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัด
สุรินทร์โดยใช้กระบวนการทฤษฏี CLT ทุนอุดหนุนวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นงนุช สีสันต์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการ
สื่อสารของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคบังคับ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2 (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ประดิษฐ์ คำมุงคุณและคณะ. (2562) ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 6(10)
เพ็ญยุพา แย้มศรี และคณะ. (2563). การพัฒนากิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้การจัดการ
เรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก
http://rtunc2020.rtu.ac.th/Production/proceeding/pdf/Oral%20Presentation/Oral4ED/5ED_O06.pdf
วราพรรณ จิตรัมย์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสําหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้เทคนิค CLT. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
วิไล ตันเสียงสม. (2548). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศิลปากร)
สิริวรรณ โพธิ์ทองและวนิดา อัญชลีวิทยกุล. (2561). การใช้การสอนแบบเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะการ
พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต).
อมรรัตน์ ผุดสุวรรณ. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟังด้วย
เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
อารีญา เชี่ยวจอหอ. (2551). การใช้การเล่าเรื่องเพื่อเพิ่มความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น และบัลลังก์โรหิตเสถียร. (2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี38/2559 หารือกับ
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก