การมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในการป้องกันไฟป่า อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก

Main Article Content

ปวีณ มาศขาว
กิติชัย รัตนะ
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในการป้องกันไฟป่า อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก โดยการใช้แบบสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทนครัวเรือนจำนวน 318 คน อาศัยอยู่รอบอุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ (1) ม้ง (2) มูเซอ (3) ลีซอ และ (4) ชาวไทยพื้นราบ ซึ่งการวิจัยการมีส่วนร่วมประกอบด้วย (1) ร่วมศึกษาปัญหา (2) ร่วมวางแผน (3) ร่วมปฏิบัติ และ (4) ร่วมตรวจสอบ โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้ค่าสถิติ t-test และ F-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison test) ด้วยวิธีการของ Scheffe


            ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่า อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 อยู่ในระดับปานกลาง โดยชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วม ในการป้องกันไฟป่า อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งชาติพันธุ์ไทยพื้นราบมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่ามากที่สุดรองลงมาเป็น ม้ง มูเซอ และ ลีซอ ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่า ประกอบด้วย ระดับการศึกษา ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ สมาชิกกลุ่มทางสังคม การฝึกอบรม ความรู้เกี่ยวกับไฟป่า และชาติพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2562). แผนแม่บทการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

ลานสาง. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

ประนัย โสมวงศ์. (2543). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมไฟป่าที่แหล่งมรดกโลกห้วยขาแข้ง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบูรณ์ อำพนพนารัตน์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันไฟป่า: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2563). ข้อมูลดาวเทียม

Suomi NPP ระบบ VIIRS. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://fire.gistda.or.th/download-v1.html.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน. สืบค้นเมื่อ

พฤษภาคม 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th.

สุบงกช จามีกร. (2526). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed). Tokyo: Harper International Edition.