ความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนบ้านเกาะคณฑี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลทั่วไปของราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ศึกษาระดับความคิดเห็นของราษฎร รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนบ้านเกาะคณฑี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โดยใช้แบบสอบถามกับราษฎรตัวอย่าง จำนวน 114 ครัวเรือน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test และสถิติ F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05
(a = 0.05)
ผลการศึกษา พบว่า ราษฎรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.70 มีอายุเฉลี่ย 48.27 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 77.30 มีอาชีพหลักคืออาชีพประมงพื้นบ้าน ร้อยละ 64.8
มีรายได้รวมของครัวเรือนต่อปี 50,000 – 100,000 บาท ร้อยละ 58.00 รายได้รวมของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 65,045.45 บาท มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.05 คน มีภูมิลำเนาตั้งบ้านเรือนอยู่ดั้งเดิมในหมู่บ้าน ร้อยละ 94.30 มีพื้นที่ครอบครองเฉลี่ย 0.46 ไร่ มีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นอย่างดี ร้อยละ 86.36 เคยได้รับข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ร้อยละ 85.23 มีประสบการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ร้อยละ 77.27 และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน มีค่าเฉลี่ย
9.51 คะแนน ราษฎรมีความคิดเห็นต่อโครงการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษาอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 และปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ขนาดพื้นที่ครอบครอง ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ การได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ประสบการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และความรู้เกี่ยวกับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). ข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดระนอง.
กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
จักรพันธ์ ม่วงยิ้ม. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่บ้านบางลา
ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2531). การวัดทัศนคติ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2524). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทวีกิจการพิมพ์.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Krejcie, R.V. and D.W.Morgan. (1970). Educational and Psychological Measurement.
Texas: Texas University