การพัฒนาการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน แบบวิถีปกติใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบวิถีปกติใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบวิถีปกติใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ภาคีที่
เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีปัจจัยในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวมายังพิพิธภัณฑ์
ท้องถิ่นจากการเป็นแหล่งข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจของชุมชน มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อศึกษา
เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น โดยตัดสินใจเดินทางด้วย
ตนเอง ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยเดินทางมาด้วยตนเองโดยรถยนต์ส่วนตัว และมีเพื่อนเป็นผู้ร่วม
เดินทาง จำนวน 2 คน ซึ่งความถี่ในการเดินทาง 1 ครั้ง/ปี เดินทางแบบไป-กลับ ทราบข้อมูลข่าวสารจากสื่อ
สังคมออนไลน์ เช่น Facebook/Instagram/Twitterและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยกว่า 1,000 บาท 2) ศักยภาพการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบวิถีปกติใหม่ คือ ด้านการ
บริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วมด้านการจัดการความรู้ ด้านการจัดแสดง ด้านการจัดการเส้นทางเดิน
ด้านการจัดการการสื่อความหมาย ด้านการจัดการบริการ และด้านการจัดการความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย
ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และ 3) การพัฒนาการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยชุมชนแบบวิถีปกติใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ 1) การจัดการการมีส่วนร่วม
2) การจัดการประสบการณ์ 3) การจัดการการแสดง 4) การจัดการเส้นทางเดิน 5) การจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศ 6) การจัดการการบริการ 7) การจัดการการตลาด และ 8) การจัดการความปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการท่องเที่ยว. (2563). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : ทางเลือกใน
การท่องเที่ยว “วิถีปกติใหม่”. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563,จากhttp://www.dot.go.th
กฤษฎา ตัสมา. (2560). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์,
(1), 70-84.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย : หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย.
(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
นุจนาถ นรินทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. ในชีวบรรณาธิการ
(บ.ก.) เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560. น.1388-1394.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไปรยา ท้าวอาจ, วีรานันท์ ดำรงสกุล และนันธิดา จันทรางศุ. (2562). แนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชน:
กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์เฮินไตลื้อ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. เอกสารการประชุมวิชาการ
บัณฑิตศึกษาระดับชาติ สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์วันที่ 27 - 28 มิถุนายน 2562 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์กรุงเทพมหานคร. น. 321-336.
พิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ, กัมปนาท บริบูรณ์ และสุมาลี สังข์ศรี. (2560). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
และศิลปะ, 10(2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, 861-878.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563,
จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=631.
ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย และรุ่งเรือง ทองศรี. (2564). การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลต่อการ
ท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น.
(8), สิงหาคม 2564, 405-416.
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และอริยา พงษ์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกการเดินทางท่องเที่ยว
ไทยแบบปรกติใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1) (มกราคม –
เมษายน 2564), 12-24.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2563). พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก
https://db.sac.or.th/museum/search/listview?keyword=&province=48&exhibit=&page=2&per-page=10
สายชล ปัญญชิต. (2562). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: บทบาททางศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาสู่ความยั่งยืน.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562),
-128.
สุภางค์ จันทวานิช. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.