ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวใน มุมมองของผู้ประกอบการ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

Benjaporn Sitti
กิติชัย รัตนะ
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ และสังคม ระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการ และปัจจัยที่มีผลต่อผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี ข้อมูลการศึกษารวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด - 19 ต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี ช่วงเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2564 จำนวน 120 ราย วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F – test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 (p-value = .05) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (multiple comparison test) ด้วยวิธีการของ Scheffe


            ผลการศึกษาผู้ประกอบการที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.33 อายุเฉลี่ย 45.72 ปี มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.67 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับไม่ได้เรียนหนังสือ/ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 คิดเป็นร้อยละ 44.17 มีอาชีพหลักคือ ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 56.67 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 229,400 บาท/ปี ส่วนใหญ่มีลักษณะของการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยว คือ ร้านอาหาร /กาแฟและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 40.83 ระยะเวลาประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวเฉลี่ย 10.54 ปี และภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง/ภาคตะวันออก และระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จังหวัดสระบุรี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น ได้แก่ อายุ และระยะเวลาการประกอบกิจกรรม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ในระดับที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2561). แผนการจัดการอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย

(พ.ศ. 2562-2566). อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก

http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=16561

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. . (2564). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ : การจัดการอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 5

มิถุนายน 2564, จาก

http://www.dnp.go.th/parkreserve/Np/Html/Management/Manage_Np.html

คล้องขวัญ อดุลย์วิโรจน์. (2554). ผลกระทบของการท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย ในความคิดเห็นของ

ประชาชนอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 4(1),

-46.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน

ของพนักงานฝ่ายการโดยสารกรณีศึกษา บริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS).

วารสารมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 15(39), 22-27.

Krejcie, R. V., & D. W Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4(7),

-23