ส่วนประสมทางการตลาด 7 P's และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษา ร้านนิดา ชาบู สาขาพัทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7 P’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษาร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา 2.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษาร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา 3.เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษา ร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา 4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยกับการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษาร้าน นิดา ชาบู สาขา พัทยา 5.เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การตัดสินใจใช้บริการธุรกิจร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษาร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาท่องเที่ยวและอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่พัทยา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation of Coefficient) การหาค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linear Correlation) ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis : MRA) การวิเคราะห์สถิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
จากผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7 P's ได้แก่ ด้านบุคลากร (People), ด้านราคา (Price), ด้านผลิตภัณฑ์ (Product), ด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion), ด้านกระบวนการ (Process), ด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ตามลำดับ การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษา ร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านมีความสนใจในการใช้บริการที่ร้านนิดา ชาบูอีก
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7 P's และปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษา ร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกหรือมีอำนาจพยากรณ์กับการการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารมุสลิมในเมืองท่องเที่ยวเขตพัทยา กรณีศึกษา ร้านนิดา ชาบู สาขา พัทยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) เป็นตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.320 รองลงมา คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7 P's ได้แก่ ด้านบุคลากร (People) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.154 ด้านราคา (Price) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.133 และด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.102 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ กลับวงศ์. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และส่วนประสมทาง
การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระ
บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). อาหารฮาลาลตลาดมาแรงสานฝันไทย
“ครัวของโลก”. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565, จาก
https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=628
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2564. [เว็บบล็อก.].
สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก
https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=628
เกวลินทร์ เส็นยีหีม และปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์. (2562). ส่วนประสมทางการตลาด (7 P’s) ที่มีอิทธิพลต่อการ
ใช้บริการร้านอาหารอีสานฮาลาลฯ. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ,
(2), 46-47.
ปาณิสรา ธรรมโหร และบรรดิษฐ พระประทานพร. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจ
ร้านอาหารตามสั่ง ที่มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจเลือกซื้อของลูกค้าในตลาดนัดหลัง
กระทรวงการคลัง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 42-50
วริษฐา กิตติกลุ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝาก สินค้าบริโภค ในจังหวัดฉะเชิงเทรา.
Marketthink. (2562). เทียบเชน “สุกี้-ชาบู” บุฟเฟต์ เมืองไทย. [Web Blog]. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม
, จาก https://www.marketthink.co/10300
Roscoe, J.T. (1969). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences.
NewYork: Holt Rinehart and Winston, Inc