ความตาย : มโนทัศน์ที่นำเสนอในหนังสือภาพสำหรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน

Main Article Content

Pattrakwan Lasongyang

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการนำเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับความตาย โดยศึกษาจากหนังสือภาพ
สำหรับเด็กที่แปลมาจากต่างประเทศ จำนวน 6 เล่ม การศึกษาพบว่าหนังสือภาพสำหรับเด็กนำเสนอมโน
ทัศน์เกี่ยวกับความตายว่า การตายคือการที่ร่างกายหยุดทำงาน ความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกชีวิต
การตายคือการกลับคืนสู่ธรรมชาติ การตายคือการเดินทางไปที่แห่งใหม่ นอกจากนี้ยังนำเสนอเกี่ยวกับ
ประเด็นความตายกับภพชาติ และการเผชิญหน้ากับความตาย ในด้านกลวิธีการนำเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับ
การตาย หนังสือภาพสำหรับเด็กนำเสนอผ่านตัวละคร บทสนทนา ภาพประกอบ บทบาทของหนังสือ
สำหรับเด็ก นอกจากจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังมีบทบาทเป็น “บรรณบำบัด”
(Biblio Therapy) เป็นเครื่องมือช่วยเยียวยา ฟื้นฟูและปลอบประโลมจิตใจเด็ก ให้เข้มแข็ง ยอมรับ เรียนรู้
และตระหนักถึง “ความตาย” ซึ่งเป็นสัจธรรมของชีวิต และไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับจิตใจเด็กมากเกินไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คอบบ์ , รีเบคกา. (2564). คิดถึงนะครับแม่. แปลจาก Missing Mummy. โดย อริยา ไพฑูรย์. กรุงเทพฯ :

แซนคล็อคบุ๊คส์.

เทกเกนทรัป, บริตตา. (2563). ต้นไม้แห่งความทรงจำ. แปลจาก The Memory Of Tree. โดย น้านกฮูก.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แฮปปี้คิดส์.

ภิมลพรรณ อุ่นแก้ว. (2563). หลักพื้นฐานบรรณาธิการหนังสือเด็ก. กรุงเทพฯ: แปลนปริ้นติ้ง จำกัด.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2563). “คำนิยม,”ใน ไรจ์เกิน, เยลเลอเคอ และ เกเกลดองค์ มัค ฟาน.

คุณตาจ๋า ลาก่อน. แปลจาก Dang Opa. โดย วิชุดา โอภาสโสภณ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์คิดดี้.

โยโกะ ซาโนะ. (2561). แมวน้อยร้อยหมื่นชาติ. แปลจาก 100 Mankai ikita neko. โดย พรอนงค์ นิยมค้า.

พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : แพรวเพื่อนเด็ก.

รพินทร ณ ถลาง. (2564). ความตาย : นัยสำคัญในวรรณกรรมเด็ก. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 25,2 :57,62.

ไรจ์เกิน, เยลเลอเคอ และ เกเกลดองค์ มัค ฟาน. (2563). คุณตาจ๋า ลาก่อน. แปลจาก Dang Opa.

โดย วิชุดา โอภาสโสภณ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์คิดดี้.

วิบูลย์พงศ์ พันธุนนท์. (2562). แนวคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดกับพุทธปรัชญา. พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 3,2 : 35.

แอร์ลบรูค, โวล์ฟ แอร์ลบรูค. (2562). เป็ด ความตาย และดอกทิวลิป. แปลจาก Ente, Tod und Tulpe.

โดย วัชรวิชญ์. กรุงเทพฯ : สเตรนเจอร์.

เฮสต์ , ปิมม์ ฟาน. (2564). คุณปู่ หลังความตายเป็นอย่างไรนะ?. แปลจาก Misschien is doodgaan wel

hetzelfdw al seen vlinder worden. โดย วารยา ศุภศิริ. กรุงเทพฯ : วายเอฟคัลเจอร์.

Bering, J. B. & Bjorklund, D. F. (2004). The Natural emergrnce of Reasoning about the after

life as a developmental regularity.New York : Mental health.

Slaughter, V. & Lyons, M. (2003). Learning About Life and Death in Early Childhood. London: Chapman Publishimg.