รูปแบบการสื่อสารทีมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงาน ภายในหน่วยงานของรัฐ กรณีศึกษา สถานีตำรวจในเขตภาคตะวันออก ประเทศไทย

Main Article Content

ทัชชกร สัมมะสุต
ปิยะดา อุกะโชค
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช
วราภรณ์ ด่านศิริ
บุศยรินทร์ กองแก้ว

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงาน ภายในหน่วยงานของรัฐ กรณีศึกษา สถานีตำรวจในเขตภาคตะวันออก ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจของสถานีตำรวจในเขตภาคตะวันออก ประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Independent One-Way ANOVA และมีการเปรียบเทียบรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 95.00 อายุ 41 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 63.70 ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 44.30 ชั้นประทวน คิดเป็นร้อยละ 56.20 และ20,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 68.90 รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในหน่วยงานของรัฐ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ท่านมีการจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญของงาน อยู่ในระดับมากที่สุด  รองลงมา คือ ท่านรับฟังความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในการทำงานภายในหน่วยงานของท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ท่านมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจและร่วมแก้ไขปัญหาของรูปแบบการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในหน่วยงานของรัฐ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งและรายได้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้แตกต่างกัน มีรูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในหน่วยงานของรัฐไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน, 11(4),

–22.

กาญจนา ชุมสงค์และชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสื่อสารภายในองค์การ

ภาครัฐในจังหวัดสุรินทร์.การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี

พ.ศ. 2562.

จารุมาศ เสน่หา และคณะ. (2560). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา:

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชณาพร สิวารักษ์กานกุล. (2561). รูปแบบการสื่อสารกับหัวหน้างานที่มีผลต่อความพึงพอใจในการ

ปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัท เพซ อินทีเรีย เซอร์วิสเซส จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

รามคำแหง.

ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2557). การสื่อสารภายในองค์กรสาธารณสุข. วารสารวิชาการ สาขาวิชา

วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 15(1), 112-120

ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรกรณีศึกษา

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศิลปากร).

นฤมล อมรรัตน์วิทยา และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2564). ประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร: กรณีศึกษา

โรงเรียนคุณธรรมวิทยาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและ

นานาชาติ ครั้งที่ 12

เบญจวรรณ แจ่มจำรูญ. (2557). ปัจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร

และสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทเอกชนในเขต

กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พิติดา แจ้งกิจจา. (2560). ทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการสื่อสารภายในและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในองค์การ

กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนก เชื้อแพทย์. (2563). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพของบริษัทในนิคม

อุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา.

รุจิ ปัญญาสาร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารในองค์กรกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ

พนักงานบริษัทผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.

เรียนา หวัดแท่น และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนค

ติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา

ระดับ ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11(2),

(พฤษภาคม-สิงหาคม), 1040 - 1055.

วัลลภ วรรณโอสถ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยด้านการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการ

ทำงาน ของนักบัญชีบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn

University, 11(1), (มกราคม-เมษายน), 971-982.

วัลลภา ใหม่คง และคณะ. (2561). ประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การผ่านแอปพลิเคชันไลน์:

กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสงขลา. Walailak Procedia.

วิเชียร วิทยอุดม. (2556). พฤติกรรมองค์กร (ฉบับแนวใหม่). นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2551). รายงานวิจัยความรู้เท่าทันหนังสือพิมพ์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ศศิภัทร อัมพวรรณ. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารอย่างรู้เท่าทันสื่อของวัยรุ่นในเขต

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุจิตรา อัมยงค์. (2548). การใช้สารสนเทศเครือข่ายอินอินทราเน็ตให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสารในองค์กร

กรณีศึกษา บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญา

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Zaremba, A. J. (2003). Organizational communication: Foundations for business &

management. Mason, OHio: Thomson South-Western