การสร้างสรรค์บทเพลง "Kamphaeng Phet Fantasy" สำหรับกีตาร์เเละเชลโล ประกอบภาพจิตรกรรมสีเรืองแสงร่วมสมัย ณ ลานวัฒนธรรม จังหวัดกำเเพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความสร้างสรรค์เรื่อง “การสร้างสรรค์บทเพลง Kamphaeng Phet Fantasy สำหรับกีตาร์
และเชลโล ประกอบภาพจิตรกรรมสีเรืองแสงร่วมสมัย ณ ลานวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร”
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงใหม่ขึ้นมาเพื่อประกอบภาพจิตรกรรมสีเรืองแสง ณ ลานวัฒนธรรม
จังหวัดกำแพงเพชร ด้วยจังหวัดกำแพงเพชรเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่าง
มากของประเทศไทย ตามประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านให้กับสุโขทัย จึงทำให้จังหวัด
กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีความจำเป็นต้องมีกำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ เป็นต้น ปัจจุบัน
จังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพราะมีโบราณสถาน
เก่าแก่หลายแห่ง โดยผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์บทเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการถ่ายทอด
อารมณ์และความรู้สึกของวิถีชีวิตและการเป็นอยู่ของประชาชนชาวกำแพงเพชร จากการได้ศึกษาเรื่องราว
จากภาพวาดจิตรกรรมสีเรืองแสงที่ผู้ออกแบบภาพและผู้วาดภาพได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของจังหวัด
กำแพงเพชรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อประพันธ์บทเพลงชิ้นนี้ขึ้น บทประพันธ์ “Kamphaeng Phet
Fantasy” ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาเทคนิคและวิธีการประพันธ์บทเพลงทั้งของดนตรีตะวันตกและดนตรีพื้นบ้าน
ในภูมิภาคของประเทศไทย และได้ประพันธ์บทเพลงขึ้นมาใหม่จำนวน 1 บทเพลง โดยผู้สร้างสรรค์ได้ทำการ
ประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาโดยการศึกษาและอ้างอิงถึงทฤษฎีและรูปแบบโครงสร้างของดนตรีตะวันตก มีการ
กำหนดโครงสร้างของบทเพลงที่ชัดเจนเพื่อบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ของภาพวาดจิตรกรรมสีเรืองแสง โดยบท
เพลงนี้สามารถแบ่งชื่อท่อนของบทเพลงออกเป็น 3 ท่อน ประกอบไปด้วย 1) ท่อนวิถีชีวิต
2) ท่อนโบราณสถาน 3) ท่อนประเพณี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2.50 นาที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรพงศ์ ยืนยง. (2565, 20 มีนาคม). ภาพวัฒนธรรมจากประวัติของพญาลิไทที่เสด็จมาตั้งเมืองกำแพงเพชร
สัมภาษณ์.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.
ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2555). สังคีตนิยม: ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร และจิตตพิมญ์ แย้มพราย. (2561). ดนตรีอาเซียนเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย.
กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2564). การประสานเสียงไดอะทอนิก. ปทุมธานี: อนันตนาค.
สุกิจ พลประถม. (2538). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน.อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานี.
สุกรี เจริญสุข. (2562). อาศรมมิวสิก: เพลงภูไทสามเผ่า โดยรัฐศาสตร์ เวียงสมุทร. สืบค้นเมื่อ 16
มิถุนายน 2562 จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1538697
องค์ บรรจุน. (2557). กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนเก่า ลาวกระทบทีหลัง. ศิลปวัฒนธรรม, 36(1), 30-37.
ThaiPBS. (2565). ชวนเยี่ยมเมืองมรดกโลก “กำแพงเพชร”. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563, จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/298726
Boden, M. (2009). Creativity in a nutshell. Think, 5(15), 83-96.
doi:10.1017/S147717560000230X
Felts, Randy. (2002). Reharmonization Techniques. Massachusetts: Berklee Press.
Kostka, S. , et at. (2013) . Tonal Harmony with an Introduction to Twentieth- Century Music.
(7th ed). New York: McGraw-Hill, Inc