การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในยุคชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดียประเภท วีดิโอช่วยสอน (Video Assisted Instruction) ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense ก่อนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีค่าเท่ากับ 80.06/82.78 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อยู่ที่ระดับมาก (X = 4.20)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิติยา พรหมสอน. (2559). รายงานผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างสรรค์นิทานแอนิเมชันคำขวัญปทุมธานี
ตามจินตนากรด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี. สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ.
โกเมณ ดกโบราณ. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับ บุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
จรรยา สิงห์ทอง. (2538). การวัดการเปลี่ยนแปลตามทฤษฏีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิม. วารสารการวัดผลการศึกษา. 27(79), 8-9.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ยศ วิทยานันตนารมย์. (2564). การศึกษาสถิติและความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อ
งานบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วิทยาเขตนครปฐม.
รภิพร สุริยะรัตนพรหม และคณะ. (2561). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้าน
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต,
(1), 161-174.
สริญญา เด่นสุมิตร. (2560). การพัฒนาวิดีโอสื่อการเรียนรู้เชิงบันเทิง (Edutainment) เรื่องการสนทนา.
ภาษาอังกฤษสำหรับการขายสินค้าในร้านสะดวกซื้อของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2/3
วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. สื่อค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563, จาก http://academicptc.
panyapiwat.ac.th/library/index.php/2018-08-08-07-13-04/category/90-teacher-inno-
-con?download=1229:teacher-inno-2560-con-02
สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์ และคณะ. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยี
ความจริงเสริม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 58-64.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัจฉรา บุญวงศ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย รายวิชาภาษาอังกฤษฟัง - พูด
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(2), 49-63.
Jadal, M.M. (2011). A Study of Effectiveness of the Audio-Visual-Aids in Teaching and Learning of
English at Primary Level in Z.P. Primary Schools of Solapur District. Indian Streams Research
Journal, 1. Retrieved 10 November 2021, from http://journals.melta.org.my/index.php/tet-
/article/view/362
Ken Paterson. (1995). Grammar Spectrum One: Elementary. London: Oxford University Press.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. In Archives of Psychology (pp.
-55).
Simhachalam Thamarana. (2016). Use of Multimedia Technologies in English Language
Learning: A Study. International Journal of English Language Teaching, 4(8), 15-30.