อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

Sirawit Pinkum
นุชศรา นันโท
ดวงดาว ภูครองจิตร

บทคัดย่อ

คุณภาพการบริการ (Service Quality) เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการส่งมอบความประทับใจ ความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ลูกค้าและเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำนำมาซึ่งความภักดีของลูกค้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการและความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการและความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อทดสอบความสัมพันธ์และอิทธิพลคุณภาพการบริการต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 350 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา, t-test, F-test, Pearson correlation Coefficient และ Regression coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ รายได้ อาชีพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ และความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ดแตกต่างกัน คุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ดในระดับปานกลางและมีทิศทางเดียวกัน คุณภาพการบริการมีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจหอพักในจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีมากที่สุด คือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้บริการ ด้านการเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือของบริการ และด้านความเป็นรูปธรรมการให้บริการตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรยาพร เสมอใจ.(2550).พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัชวาล เวศย์วรุตม์.(2553).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาศัยของผู้บริโภคใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์

บริหารมหาบัณฑิต.สาขาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.:1-142.

เทียนชัย งามนา และธรรมวิมล สุขเสริม.(2559). “คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการหอพักเอกชน:

กรณีศึกษาเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี”.วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.6(2).(ก.ค.-ธ.ค. 2560).:48-62.

เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.(2562). ทะเบียนหอพักที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งหอพัก เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.

https://roietmunicipal.go.th/roiet/.

ธัญลักษณ์ รสรื่น และกฤษฎา มูฮัมหมัด.(สิงหาคม 2563).”ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือ

เช่าหอพักของผู้บริโภคในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง”.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.15:860-872.

พชร เกษโกศล และจิตต์โสภณ มีระเกต.(2561). “ได้ทำการวิจัยเรื่อง อิทธิพลของคุณภาพการบริการและความพึงพอใจของ

ผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการ โรงแรมรีสอร์ท ในเขตพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัด

นครราชสีมา”.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ มหาวิยาลัยราชพฤกษ์.4(3).:102-113.

สุนีย์ เจษฎาวรางกลูและ ฐิตินันท์ วารีวนิช.(2553). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตีดสินใจซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์ในโครงการบริษัทวังทอง

กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)”วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.3(3):105-117.

อัมพล ชูสนุก และคณะ.(2559). “อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อคุณค่าที่รับรู้ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของ

ผู้ใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร”. สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ.9(1).(เดือน

มกราคม –เมษายน 2559).:1565-1584.

Cronbach, L. J., Rajaratnam, N., & Gleser, G. C.(1963). Theory of generalizability: A liberalization of

reliability theory. British Journal of Statistical Psychology,16(2),137-163.

Jacoby & Chestnut. (November 1978). “A Behavioral Process Approach to Information Acquisition in

Nondurable Purchasing”. Journal of Marketing Research.Vol.15:532-44.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W.(1970). Determining sample size for research activities. Educational and

psychological measurement, 30(3),607-610.

Lai, W.-T. & Ching, C.-F.(2011). “Behavioral intentions of public transit passengers: The roles of

service quality, perceived value, satisfaction, and involvement”. Transport Policy,

(2).:318-325.

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M.(2013). Employee—organization linkages: The psychology of

commitment, absenteeism, and turnover. Academic Press.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L.(1986). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring

customer perceptions of service quality. (Report No. 86-108). Cambridge, MA: Marketing Science

Institute

Johnson, M. D., Herrmann, A., & Huber, F.(2006). The evolution of loyalty intentions.Journal of

marketing,70(2),122-132.

Felix Rubogora.(January 2017) “Service Quality and Customer Satisfaction in Selected Banks in Rwanda”

Journal of Business & Financial Affairs.6(1):