ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาที่เดินทางเข้าออกบริเวณพื้นที่ชายแดนด่านช่องสะงำ

Main Article Content

วัฒนา บุน
กุลวดี ละม้ายจีน
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาที่เดินทางเข้าออกบริเวณพื้นที่ชายแดนด้านช่องสะงำ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาที่เดินทางเข้าออกบริเวณพื้นที่ชายแดนด้านช่องสะงำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย-กัมพูชา ประชาชนหรือพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย-กัมพูชา และตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดศรีสะเกษ-จังหวัดอุดรมีชัย รวมทั้งสิ้นจํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง


     ผลการวิจัยพบว่า​ 1) ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาที่เดินทางเข้าออกบริเวณพื้นที่ชายแดนด่านช่องสะงำ มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ซื้อสินค้าพื้นบ้าน ค้าขาย/แลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร และปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และให้ความสำคัญกับปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยระหว่างบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเทคโนโลยี และ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม 2) สภาพ ปัญหา อุปสรรค ต่อการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาที่เดินทางเข้าออกบริเวณพื้นที่ชายแดนด่านช่องสะงำ คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัส โควิด-19 ปัญหาการค้าขายของประชาชนในพื้นที่ ปัญหาไม่มีรถโดยสารประจำทางไปที่จุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ถนนเนื่องจากถนนมีขนาดเล็กและชำรุดและแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว และ ส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชาบริเวณพื้นที่ชายแดนด่านช่องสะงำ ดังนี้ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านการจัดจำหน่า 3) ด้านราคา 4) ด้านการส่งเสริมทางการตลาด 5) ด้านบรรจุภัณฑ์ 6) ด้านบุคคลกร 7) ด้านลักษณะทางกายภาพ และ 8) ด้านกระบวนการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์และคณะ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณ

จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง. วารสาร

มหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 83.

วิลาสินี ชนะสุด. (2564). แรงจูงใจในการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจขอ

นักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาเยือนจังหวัดตรัง.ใน การประชุมนานาชาติ DPU ด้านนวัตกรรม

ธุรกิจและสังคมศาสตร์ 2021. ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ(น. 404 – 415)

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ชลิกา อุตมะแก้ว และคณะ. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของการท่องเที่ยวชุมชนจากการแพร่

ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในเขตพื้นที่หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง

อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารข่วงผญา, 15(12), 17.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19,

วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1),160.

ทัศนียา กิตติภาคย์พฤทธ์ และคณะ. (2563). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมการตลาด

บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง วารสาร

วิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3),72.

รจิต คงหาญ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการธุรกิจท่องเที่ยว

ของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุเขตอันดามัน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11 (ฉบับพิเศษ),

-30.

สมหทัย จารุมิลินท. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพล

ต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของ

นักท่องเที่ยวทที่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ทิพย์สุดา ธรรมลาภากุล. (2560). การเมืองในการกำหนดนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจการค้าชายแดน จุดผ่าน

แดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Klinsrisuk, K. (2002) The research report on potential and possibility of trading along the

border in northeast provinces. (Research Report). Nakon Rachasrima: Suranaree

university of technology.

Siriphong, S. (1994). The study of development on planning along borders: the case study

of Thai–Laos border in Loei province. ( Master’s degree thesis, Chulalongkorn

university)