การสร้างแนวคิดและการกำหนดรูปแบบการแสดงละครเพลง เรื่องโทนรัก

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม
จินตนา สายทองคำ
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์การสร้างแนวคิดการแสดงละครเพลง เรื่องโทนรัก 2) เพื่อวิเคราะห์การกำหนดรูปแบบการแสดงละครเพลง เรื่องโทนรัก โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารวิชาการ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนศึกษาและชมวีดิทัศน์การแสดงละครเพลงรพีพร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2496-2538 นำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สู่การสร้างแนวคิดและการกำหนดรูปแบบการแสดงละครเพลง เรื่องโทนรัก


               ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างแนวคิดละครเพลงเรื่องโทนรัก จากการศึกษาละครเพลงของรพีพร มุ่งเน้นการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตและความรักของหนุ่มสาวที่มีฐานะที่แตกต่างกัน สอดแทรกแนวคิดการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านรำโทนเพื่อให้ผู้ชมได้รับสุนทรียะศิลป์ทางการแสดง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบฉาก โดยสามารถนำสถานที่ต่าง ๆ ที่ระบุในการแสดงละคร สู่การสร้างความเสมือนจริงผสมผสานในการแสดง สร้างความตระหนักรู้ในการเห็นคุณค่าของตนเองแก่ผู้ชมทุกช่วงวัย


     2) การกำหนดรูปแบบการแสดงละครเพลงเรื่องโทนรัก มีรูปแบบการแสดงหลักคือ “ร้อง เล่น เต้น ระบำ” โดยคำว่า ร้อง หมายถึง การดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงสลับการพูดเจรจา เล่น หมายถึง การดำเนินเรื่องแบบอย่างละคร เต้น หมายถึง การรำ/เต้นเดี่ยว รำ/เต้นคู่ โดยใช้ท่าทางแบบนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ร่วมสมัย ระบำ หมายถึง การใช้ท่าทางนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ร่วสมสมัย โดยผู้แสดง 2 คนขึ้นไป หรือเป็นหมู่คณะ อาจทำท่าทางเดียวกันพร้อมเพรียงกัน หรือแตกต่างกันตามทำนองเพลง การแสดงแบ่งออกเป็น 3 ฉาก คือ


      ฉากที่ 1 โทนทุ่ง สื่อถึง ภูมิหลังของตัวละครที่มีความผูกพันกับศิลปะการแสดงพื้นบ้านรำโทน


      ฉากที่ 2 โทนกรุง สื่อถึง การเดินทางเข้าสู่เมืองกรุงเพื่อความรักในอาชีพ


      ฉากที่ 3 โทนรัก สื่อถึง การตัดสินใจเพื่อสิ่งที่รัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์. (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครร้องของพรานบูรพ์. (วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

จริยา ปันทวังกูร และกิติศักดิ์ ดียา. (2563). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ

และวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), (กันยายน–ธันวาคม 2563). 291.

ธันวิน ณ นคร. (2565). การสร้างสื่อวีดิทัศน์. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565,

จาก https://www.deebuk.ac.th/krutop/p8-1.html

นพมาส แววหงษ์. (2550). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลิณี จุโฑปะมา. (2553). การเห็นคุณค่าในตนเองนั้นสำคัญไฉน? และจะสร้างอย่างไร?. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม). 13.

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). โครงการศึกษาวิจัยประเด็น

นโยบายเชิงลึกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนและสังคมไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทาง

วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2565,

จาก http://social.nesdb.go.th/

อัจฉราวรรณ ภู่สิริวิโรจน์. (2543). พัฒนาการละครเพลงของรพีพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร).

อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เอกพงษ์ ตรีตรง. (2562). แนวคิด 4DNA. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2565, จาก

https://today.line.me/th/v2/article/Q79Mr0

Schumacher, T and Kurtti, J (2008). How Does the Show Go On. New York: Disney Edi-tions