การจัดการกับภาวะวิกฤตโควิด-19: กรณีศึกษาประเทศไทยและต่างประเทศ

Main Article Content

พิชญา วิทูรกิจจา
พรพจน์ ศรีดัน
พิชญา สุรพลชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาสถานการณ์ และมาตรการของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ในการจัดการกับภาวะวิกฤตในเชิงเศรษฐกิจ และสังคมอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระหว่างเดือน ม.ค. 2563 – มี.ค. 2564 โดยใช้กรอบการวิเคราะห์การบริหารจัดการภาวะวิกฤต ในสองระยะคือ ระยะการตอบสนอง (Respond) และระยะการฟื้นตัว (Recover) พบว่า รัฐบาลส่วนใหญ่ต้องดำเนินการทั้งมาตรการทางสังคมที่เน้นด้านสาธารณสุข และการมาตรการทางเศรษฐกิจที่เน้นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนไปพร้อมกัน ไม่สามารถเลือกทำเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง โดยในระยะตอบสนอง ประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. 2563 ซึ่งยังคงเผชิญกับการแผ่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลจะออกมาตรการคุมเข้มและมีผลบังคับใช้ทันที เช่น คำสั่งให้หยุดกิจการ จำกัดการเดินทาง และการช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนอย่างทันท่วงที ส่วนในระยะฟื้นตัว เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะเข้าสู่ขั้นตอนนี้ โดยในขณะนี้มีบางประเทศอาทิ สหรัฐฯ จีน และสิงคโปร์ เริ่มจัดการกับภาวะวิกฤตในระยะตอบสนองได้ค่อนข้างดี โดยเปลี่ยนจุดเน้นจากการรับมือด้านสาธารณสุขไปที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น และเริ่มผ่อนปรนมาตรการบางส่วน จากผลการศึกษาสถานการณ์ และมาตรการของทั้ง 6 ประเทศ ในการจัดการกับภาวะวิกฤตโควิด-19 จะเป็นบทเรียนสำคัญให้ประเทศไทยวางแผนรับมือกับภาวะวิกฤตที่รอบด้านและมองไปข้างหน้า ที่สำคัญคือมองเห็นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยผู้กำหนดนโยบายต้องศึกษาเรียนรู้เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Asia Times. (2020). Japan stimulus highlight: $15bn small-biz loans. from https://asiatimes.com/2020/03/japan-stimulus-highlight-15bn-small-biz-loans/.

COVID-19 Policy Watch. Retrieved from https://covid19policywatch.org/

International Monetary Fund (IMF). Policy Responses to Covid-19. from https://www.imf.org/en/Topics/imf-and-covid19/Policy-Responses-to-COVID-19#U

Grant S. E. and Powell D. (2000). Crisis response and communication planning manual. Prepared for the Ontario Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs (OMAFRA), Ontario, Canada.

Rosenthal, U., Charles, M. T., & Hart, P. t. (1989). Coping with crises: The management of disasters, riots, and terrorism: Charles C Thomas Pub Limited.

William D. Eggers, John O'Leary, & Chew, B. (2020). Governments’ response to COVID-19. A report from the Deloitte Center for Government insights. from https://www2.deloitte.com/us/en/insights/economy/covid-19/governments-respond-to-covid-19.html

โพสต์ทูเดย์. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จาก “ไวรัสโควิด-19”. จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/618563

กรมควบคุมโรค. (2552). การสื่อสารในภาวะเสี่ยง ฉุกเฉิน และวิกฤติทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สิงคโปร์-เวียดนาม'ผู้ชนะตัวจริงสงครามโควิด. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915082

ประชาไทย. (2564). ดูตัวอย่าง 8 ประเทศ รัฐบาลช่วยคนเล็กคนน้อยในวิกฤตโควิด-19 อย่างไร. จาก https://prachatai.com/journal/2020/03/86860

ฤชากร ไตรรัตนานุสรณ์. (2563). รับมือโควิดในสหรัฐ: ตอบสนองล่าช้า หาเต๊นท์ให้คนไร้บ้าน สินค้าขาดแคลน. จาก https://ilaw.or.th/node/5623

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2563). สถานการณ์ นโยบายและมาตรการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก. จาก https://www.covidpolicywatch.com/policyinter/

อรุณ สถิตพงศ์สถาพร และวุฒิพงษ์ ตุ้นยุทธ์. (2563). สถิติการระบาดเปรียบเทียบระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับ ไทย. จาก https://www.covidpolicywatch.com/impact/