การเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณค่า ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณค่าในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการดำเนินการ สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลพื้นฐาน สภาพการดำเนินการ สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีโครงสร้างที่ โดดเด่น แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์สำหรับ กลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณค่าในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า วิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยแปรรูปเห็ด เนื่องจากมีความพร้อมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของกลุ่มอาชีพชุมชน มีผลิตภัณฑ์วัตถุดิบเป็นของตนเอง สามารถผลิตเองได้ และมีสูตรเป็นของตนเอง ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณค่าใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เห็ดแบบครบวงจร เพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวการศึกษาดูงานด้านการผลิต เพื่อเปิดโอกาสด้านการผลิตเห็ดให้กับผู้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจทั้งกลุ่มผู้สูงวัย และเด็กนักเรียน นักศึกษา ในการเพิ่มความรู้และประสบการณ์ทางด้านการผลิต และถ่ายทอดต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน
วิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันการ
พัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่เป็นมิตร :โปรไบโอติก. สืบค้นเมื่อ 25
กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2555_189_60_p13-15.pdf
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการ
ชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
ธัชกร ภัทรพันปี. (2561). รายงานการวิจัย กระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุใน
ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน.
สมชาย ชมภูน้อย. (2561). แนวทางการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัด
อุดรธานี. อุดรธานี: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
อาชวิน ใจแก้ว. (2560). การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจ
พอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1).
-113
อิศราพร ใจกระจ่าง และคณะ. (2559). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านตาม
สายน้ำคลองท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน. นครศรีธรรมราช:
มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
เอกชัย พุ่มดวง. (2557). กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจชุมชน ของ
กลุ่มอาชีพใน ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนดุสิต.
อัจฉรา มลิวงค์ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชน นวดแผนไทยบ้านแม่ทะ ตําบลแม่ทะ อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง. การประชุมวิชาการและ
การนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ แม่โจ้-แพร่ วิจัย ครั้งที่ 2. วันที่ 15 สิงหาคม 2554 แพร่:
มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. CRCPress,
Inc. USA : Boca Raton, Florida.
Osterwalder, A. and Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation: A Handbook for
Visionaries, Game Changers, and Challengers. Wiley, New Jersey.
Thalang. A,. (1997). Folk wisdom of the four regions : way of life and learning process of
Thai villagers. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University