การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การสื่อสารภาษาอังกฤษในรูปแบบโครงงาน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการสื่อสารแบบโครงงานเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการสอนภาษาอังกฤษในการสื่อสารแบบโครงงานเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดของผู้เรียนระดับปริญญาตรี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการสื่อสารแบบโครงงานเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ
และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.00/88.69 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับปริญญาตรี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 14.003 ซึ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจมากต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในการสื่อสารแบบโครงงานเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดของผู้เรียนระดับปริญญาตรีโดยผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับ
ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษา.
ทัศยา จุลนีย์. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อสร้างเสริม
ทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
(ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิพย์ คุ้มยู, อัครวัฒน์ วงษ์ฐิติกุล และสมยศ เผือกจันตุก. (2562). การพัฒนาทักษะการสร้างเครื่องมือ
วัดผลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรศึกษาศาสตร บัณฑิตโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อ
ส่งเสริมทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(3), 73-84.
นุชนารถ วัฒนศิริ, พิสุลี ศรีโมริ และชาริโต อาร์. ครูซ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน
ที่มีผลต่อสมรรถนะและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์.
วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 414-430.
รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภามาอังกฤษเทคนิค โดยวิธีการสอนที่เน้น
ภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และความคิดสร้างสรรค์
สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 167-182.
รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิคโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและ
โครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความข้าใจ และความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา
ปริญญาตรี. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งโรจน์ แก้วอุไร และศรัณยู หมื่นเดช. (2557). 8 ขั้นตอนการเรียนแบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดียเพื่อ
ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีการศึกษา และมีเดียคอนเวอร์เจนซ์, 1(1), 1-17.
รุจิรา ผุยมาตย์. (2562). การใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในการสอนภาษาอังกฤษ
สำหรับวิชาคหกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
ลัคนา วัฒนะชีวะกุล. (2561). เอกสารคำสอน สต 316 ประชากรศาสตร์. เชียงใหม่: สาขาวิชาสถิติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้.
กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). NSTDA SERVICES. ปทุมธานี:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). การสอนอ่านไม่เน้นการอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อาภาพรรษ์ เรืองกุล. (2561). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่เรียนภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในการสอนทักษะการพูด.
(ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Larmer, J.,J. Mergendoller & S. Boss, (2015). Setting the standard for project-based
learning. ASCD.
Shin, M. H. (2018). Effects of Project-Based Learning on Students' Motivation and SelfEfficacy. English Teaching, 73(1), 95-114