การสร้างสรรค์การแสดง ชุด นาฏอนงค์ทรงเครื่อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์การแสดง ชุด นาฏอนงค์ทรงเครื่อง ในรูปแบบของการรำออกภาษาแขก ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เรื่องศกุนตลา ตอนที่นางศกุนตลาแต่งตัวเพื่อขึ้นไปเฝ้าท้าวทุษยันษ์ โดยศึกษาจากเอกสาร วิดีทัศน์การแสดง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์การแสดง ชุด นาฏอนงค์ทรงเครื่อง ใช้รูปแบบการรำเดี่ยวทรงเครื่อง (ตัวนาง) โดยการออกแบบการแสดงประกอบด้วย 1) เพลงและบทร้อง เป็นบทประพันธ์ใหม่ที่บรรจุเพลงสำเนียงแขก ได้แก่ เพลงแขกบันตน เพลงแขกตาโม๊ะ และเพลงเสมอแขก 2) เครื่องแต่งกาย กำหนดให้แต่งกายอย่างอินเดียเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดและกระบวนท่ารำ 3) กระบวนท่ารำ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เพลงแขกบันตน สื่อถึงเหตุแห่งการแต่งตัวของนางศกุนตลา ช่วงที่ 2 เพลงแขกตาโม๊ะ สื่อถึงการแต่งตัวของนางศกุนตลา และช่วงที่ 3 เพลงเสมอแขก สื่อถึงการเดินทางไปยังอุทยานของนางศกุนตลา ส่วนการออกแบบท่ารำเป็นการผสมผสานท่ารำนาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์อินเดีย (ภารตนาฏยัม) ซึ่งคำนึงถึงตำแหน่งและวัสดุของเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญตามจารีตนาฏศิลป์ไทยในการรำทรงเครื่อง การใช้พื้นที่เวทีมีทั้งหมด 4 แบบ คือ การเคลื่อนที่ในแนวนอนไปทางซ้าย-ขวา การเคลื่อนที่เป็นวงกลม การเคลื่อนที่แนวเฉียง และการเคลื่อนที่ในแนวตั้งลงด้านหลัง-ขึ้นด้านหน้า ทั้งนี้ การแสดง ชุด นาฏอนงค์ทรงเครื่อง ยังสามารถนำไปต่อยอดการแสดงที่มีตัวละครเชื้อชาติแขกอื่น ๆ เพื่อเพิ่มสุนทรียรสแก่ผู้ชมการแสดงและเพื่อประโยชน์แห่งวงวิชาการต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2511). บทละครรํา ละครดึกดําบรรพ์ เรื่อง ศกุนตลา บทความเรียงและ
บทละคร เรื่อง สาวิตรี (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
วรรณพินี สุขสม, (2545). ลงสรงโทน : กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา. (วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต สาชาวิชานาฏยศิลป์ไทย บัณฑฺตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.