การวิเคราะห์ภาพแทนจากรูปแบบตัวอักษรป้ายร้านค้าเมืองหลวงพระบาง ในกระแสโลกาภิวัตน์

Main Article Content

มาริญา ทรงปัญญา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการวิเคราะห์ภาพแทนจากรูปแบบตัวอักษรป้ายร้านค้าเมืองหลวงพระบาง ในกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นบทความเชิงวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการสร้างความหมายและภาพแทนจากรูปแบบตัวอักษรที่ถูกออกแบบและใช้งานเพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบางกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งตัวอักษรเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์รูปแบบหนึ่ง ที่นอกจากจะสื่อสารข้อความแล้ว ยังถ่ายทอดความหมายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องผ่านรูปลักษณ์ที่ถูกออกแบบ (Typeface) โดยเฉพาะตัวอักษรที่ถูกออกแบบและใช้งานในสถานประกอบการร้านค้าในย่านการท่องเที่ยวของเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง ที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารต่อนักท่องเที่ยวในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้ตัวอักษรกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมและกำหนดภาพลักษณ์หรือภาพแทนของเมืองหลวงพระบางในกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างน่าสนใจ โดยบทความมุ่งศึกษาข้อมูลจากการสำรวจลักษณะตัวอักษรที่ปรากฏและถูกนำเสนอในป้ายของร้านค้า โรงแรม และสถานที่ต่างๆ ในย่านท่องเที่ยวพื้นที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และวิเคราะห์ความหมายที่เชื่อมโยงระหว่างรูปแบบตัวอักษรกับภาพแทนของเมืองหลวงพระบาง ผ่านแนวคิดสัญวิทยาและแนวคิดวาทกรรม โดยผลการสำรวจและวิเคราะห์กระบวนการสร้างภาพแทนพบว่า รูปแบบของตัวอักษรที่ถูกใช้มักเป็นรูปแบบตัวอักษรสไตล์ตะวันตก ที่มีการเชื่อมโยงความหมายเชิงวัฒนธรรมในรูปแบบความร่วมสมัย เป็นสากล และมีกลไกเชิงอำนาจในการผลิตซ้ำความหมายเชิงวัฒนธรรมนั้นให้ถูกยอมรับ ซึ่งส่งผลให้ภาพแทนเมืองหลวงพระบางในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความร่วมสมัยตามแบบอย่างตะวันตกมากขึ้น ซึ่งกระบวนการสร้างภาพแทนนี้เป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมกำหนดกรอบความคิด จินตนาการ และทัศนคติของผู้คนในเมืองหลวงพระบางทั้งนักท่องเที่ยวจากวัฒนธรรมอื่นและรวมไปถึงผู้คนในวัฒนธรรมพื้นถิ่นเอง ที่มีต่อความหมายของเมืองแห่งมรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในกระแสโลกาภิวัตน์

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

มาริญา ทรงปัญญา

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

References

กฤษณ์ วิไลโอฬาร, (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างเครื่องที่ระนึกในเมืองหลวงพระบาง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กิตติสันต์ ศรีรักษา. (2558). ศิลปกรรมรูปนาคหลวงพระบาง : รูปแบบคติสัญลักษณ์และการให้ความหมายในฐานะเมืองมรดกโลก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). Typography. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). แว่นวรรณดคี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร.

นพพร ประชากุล. (2544). มายาคติ: สรรนิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Barthes. กรุงเทพฯ : คบไฟ.

ปราโมทย์ ภักดีณรงค์. (2556). ปัญหาเชิงโลกาภิวัตน์ในขบวนการท้องถิ่นนิยมของเพลงโคราช. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree University of Technology. 7(2), 99 – 108.

ศุภชัย เจริญวงศ์. (2544). ถอดรหัสการพัฒนา. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

สมิชฌน์ สมันเลาะ. (2558). บันทึกบรรยายจากรหัสวิชาพื้นฐานสู่รหัสดิจิทัล อักษรศิลป์และอักขรศิลป์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์. [ออนไลน์] จากhttps://sites.google.com/site/xaseiynniyukhlokaphiwathn/sangkhm-lok-yukh-lokaphiwathn. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2561.

เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์. (2552). ภาพแทนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชน: กรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.

Michel Foucault, (1980). “Truth and Power” In Power/Knowledge. New York: Pantheon.

Stuart Hall, (1997). “The Work of Representation”, In Representation: Cultural Representations and Signifying Practice. London: Sage.