การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย กลุ่มสหกรณ์บ้านจิก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

นงค์นุช สุดโท
ผศ.ดร.กฤษฎา ดูพันดุง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ คือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย กลุ่มสหกรณ์บ้านจิก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย กลุ่มสหกรณ์บ้านจิก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลภาคสนามที่เกี่ยวข้อง ทั้งประวัติความเป็นมา และการก่อตั้งของกลุ่มสหกรณ์บ้านจิก เพื่อทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์บ้านจิกซึ่งสามารถนำไปผลิตและวางจำหน่ายได้จริงรวมถึงตราสินค้าที่สร้างความจดจำให้แก่ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์บ้านจิก  โดยมีการตรวจประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 3 ท่านจึงได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ดีที่สุดผลการออกแบบในการประเมินความพึงพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ออกแบบขึ้นมานี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย บ้านจิก จำนวน 73 คน ซึ่งมาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างในกรณีที่ทราบจำนวนประชากรการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  คำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเนโดยการศึกษาในครั้งนี้มีแนวความคิดที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ สหกรณ์บ้านจิกให้จดจำได้ง่ายขึ้น สร้างความแตกต่างและสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ศิลปะไทยประยุกต์ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย สหกรณ์บ้านจิก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสมุนไพรไทยและยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของคนไทยจากรุ่นสู่รุ่น จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะถูกนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า สรุปผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย กลุ่มสหกรณ์บ้านจิก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างพบว่าบรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ จดจำง่าย สร้างความแตกต่างและเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Yamane. (2559). การคำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสูตรคำนวน ทาโร ยามาเน. สืบค้นจาก https://uxlabth.com/2018/11/26/ taro-yamane-%.

กฤษฎา ดูพันดุง. (2559). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติและกระดาษ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์. (2556). รอบรู้เรื่องพลาสติก. กรุงเทพฯ: อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก.

แก้ว กาญจนา. (2553). ยาสมุนไพรและการรักษา. กรุงเทพฯ : นีออน บุ๊ค มีเดีย.

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2556). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ไทย กรณีศึกษา เครื่องเบญจรงค์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตำบลคลองดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชัยมิตร แสวงมงคล. (2548). โครงการผลของคุณภาพสิ่งพิมพ์ประเภทเยื่อกระดาษที่มีต่อระบบการพิมพ์การออกแบบกราฟิคและบรรจุภัณฑ์ กลุ่มเกษตรกรริมหาดไวน์ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ. (2559). กระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ปุ่น คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย.

รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาวัสดุทางการพิมพ์(หน่วยที่9) นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

มยุรี ภาคลำเจียง. (2556). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภค บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์หยี่เฮง.

ภัทตราภรณ์ ถือธรรม. (2551). โครงการออกแบบลายกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ สบู่สมุนไพร พรศิริ. ศิลปกรรมศาสตร์ ออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (2554). กว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศูนย์วิจัยกระสิกรไทย. (2548). ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปี’48 :มูลค่าตลาด 48,000 ล้านบาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://positioningmag.com/23294 (วันที่เข้าค้นข้อมูล 1 กันยายน2561)

อโนทัย เพชรสุวรรณ. (2549). การออกแบบบรรจภัณฑ์สำหรับข้าวแต๋น ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญชลี กมลรัตนกุลพร้อมคณะ. (2545). คู่มือการใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.).

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.