โอกาสการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวที่ปรากฏในฮูปแต้มสิมอีสาน

Main Article Content

บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ยศยาดา สิทธิวงษ์

บทคัดย่อ

โอกาสการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวที่ปรากฏในฮูปแต้มสิมอีสาน ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏฮูปแต้มการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวตามประเพณีอยู่ 3 แบบ คือ 1) ประเพณีลงครกกระเดื่องตำข้าว 2) ประเพณีการลงข่วงเข็ญฝ้าย และ 3) ประเพณีการฟ้อนและการลำในขบวนแห่ ซึ่งทั้ง 3  ประเพณีนี้ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสใกล้ชิดพูดคุยกันเพื่อแสวงหาคู่ครองที่ตนพึงพอใจถึงคุณสมบัติที่เป็นค่านิยมของคนอีสาน คือ “ขยันทำงาน” และจุดประสงค์ด้านอื่น ๆ ตามแต่ความชอบพอของหนุ่มสาว จากการที่ช่างแต้มได้แต้มฮูปการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวไว้ในสิมอีสานทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ประเพณีฮีตสิบสองของอีสานนั้นเข้มแข็ง ทุกคนให้ความเคารพยำเกรงจึงสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในการดำรงชีวิตและสร้างความสงบสุขให้แก่คนในสังคมอีสาน จึงทำให้ช่างแต้มได้บรรจงเลือกสรรตำแหน่งเพื่อจะแทรกรูปภาพการเกี้ยวพาราสีนี้ลงบนฝาผนังของสิม เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำรงเผ่าพันธุ์ของชาวอีสานสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คำพูน บุญทวี. (2554). วัฒนธรรมพื้นบ้านประเพณีไทยอีสาน. นนทบุรี: โป้ยเซียน (1988).

เทพพร มังธานี. (2545). เปิดผ้าม่านกั้ง: เปิดจิตวิญญาณอีสานสู่จิตวิญญาณสากล. ขอนแก่น:

พระธรรมขันต์.

นิวัฒน์ พ.ศรีสุวรนันท์. (2543). ประวัติศาสตร์ไทยลาว-อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]

พรสวรรค์ สุวรรณศรี. (2547). การวิเคราะห์คุณค่า การดำรงอยู่ และการสืบทอดผญาอีสาน. วิทยานิพนธ์.

ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ไพบูลย์ แพงเงิน. (2534). กลอนลำ- ภูมิปัญญาของอีสาน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2532). สิ่งแวดล้อมอีสานและการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัย

ในโครงการอีสานเขียว.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2561). ฮูปแต้ม. เข้าถึงจาก. https://www.isangate.com/new/32-art-

culture/knowledge/529-isan-drawing.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2561

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ. (2559). สารานุกรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน “จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถ

แบบดั้งเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มหาสารคาม. มหาสารคาม.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2560). จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรมท้องถิ่นสมัย

ประเทศสยาม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 5

ฉบับที่ 2(10) 41-50.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง. (2552). แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม.

เข้าถึงจาก. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?

NewsID=9510&Key=news_research. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น. (2543). สิมพิ้นบ้านวิหารพื้นถิ่น.

อุดรธานี. วินิจการพิมพ์.

สำลี รักสุทธี. (2555). สืบสานตำนานงานบุญประเพณีอีสาน. กรุงเทพฯ: พ.ศ. พัฒนา.

สุภาวดี ไชยกาล. (2556). วิเคราะห์คติธรรมจากจิตกรรมฝาผนังวัดทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี.

วิทยานิพนธ์. ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.