การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกฮายักษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกฮายักษ์รวมถึงเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์และพัฒนาตราสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกฮายักษ์ โดยได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบตราสินค้า โครงสร้างและลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดการนำสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดที่สำคัญในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ผ่านการเล่าเรื่องจากตัวการ์ตูนฮายักษ์ที่มีสีสันแตกต่างกันตามเรื่องราวและสถานที่ 5 สถานที่ ได้แก่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อเลือกแบบที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาผลิตเป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ผลการประเมินพบว่า ด้านตราสินค้ารูปแบบที่ 2 จากแนวคิดการนำรูปทรงของปากตัวการ์ตูนฮายักษ์มาออกแบบให้เป็นตัวอักษร มีความเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย 4.25) ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1 ที่ใช้แนวคิดจากกำแพงวัดและใบเสมาของวัด มีความเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย 4.20) และส่วนของด้านลวดลายบนบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ที่ใช้แนวคิดลายไทยจากภาพวาดบนกำแพงวัด ได้แก่ลายประจำยามมาประยุกต์ใช้เป็นลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ มีความเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.42) จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ต้นแบบและนำไปประเมินความพึงพอใจโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 103 คน จากบริเวณแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่จำหน่ายสินค้าของที่ระลึกฮายักษ์ ซึ่งผลจากการประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ พบว่าการออกแบบตราสินค้า อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.49) การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.47) และการออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.32)
Article Details
References
สรุปแผนการปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี. (2562). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.). [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2562, จาก http://www.oic.go.th
สุรีย์ เข็มทอง. (2562) ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อประสบการณ์การซื้อของในกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562, จาก http://sms-stou.org/pr/index.php/en/?option=com
ปาริชาติ รัตนพล. (2555) การศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่
ระลึกเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_JHSS/article/view/41690
ภิสารัตน์ คำสุข. (2549) การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประเพณีผีตาโขนของร้าน
กวินทิพย์หัตกรรม อำเภอด่านซ่าย จังหวัดเลย. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2562 จาก http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2551/064/abstract.pdf
ชลิดา รัชตะพงศ์ธร (2556). การวิจัยเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ไทย. ค้นเมื่อ 2
มีนาคม 2562 จาก http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10403690