วัฒนธรรมร่วมสมัย: มิติบริบทของสมาชิกกลุ่มหญ้าแฝกจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีประเด็นมุ่งศึกษาบริบทของกลุ่มสมาชิกหญ้าแฝกจังหวัดพะเยาและวัฒนธรรมร่วมสมัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์บันทึกเสียงและการถ่ายภาพการบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงร่างสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับประชากรผู้ให้ข้อมูล ผลการศึกษาผลพบว่า สมาชิกของกลุ่มมาจากหลายครอบครัว ซึ่งบริบทของแต่ละครอบครัวก็แตกต่างกัน การปรับตัวเข้ากับสังคมสมาชิกต้องเรียนรู้ และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนเพื่อให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้บริบทของสมาชิกกลุ่มหญ้าแฝกมี 6 ประการที่เชื่อมโยงประเด็นที่ได้จากลงพื้นที่สัมภาษณ์ ดังนี้ 1) พรสวรรค์และพรแสวง 2) ความอดทน 3) ความอ่อนน้อมถ่อมตน 4) การคิดและการตัดสินใจ 5) มีความรักเป็นอาวุธ 6) สภาพแวดล้อมของกลุ่มหญ้าแฝก บริบทของกลุ่มหญ้าแฝกนั้นสัมพันธ์กับวัฒนธรรมร่วมสมัย พบว่า กลุ่มหญ้าแฝกนั้นต้องศึกษาด้านวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม การหยิบยกประเด็นความเป็นวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆ บูรณาการกับกระบวนการออกแบบเพื่อถ่ายทอดเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องอุปโภค – บริโภค ด้วยการสื่อสัญลักษณ์ แฝงด้วยกลิ่นไอของวัฒนธรรมไทยล้วนเป็นสิ่งที่นักออกแบบควรตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ 2550 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.
กาญจนา นาคสกุล. (2555). ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555 จาก http://www.royin.go.th/ th/knowledge/detail.php?ID=67.
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. (2548). CEO โลกตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
จันทนี เจริญศรี. (2544). โพสต์โมเดิร์นและสังคสวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
เจษฎา ไชยพงษ์. (2552, ตุลาคม-ธันวาคม). สังคมไทยกับวัฒนธรรมร่วมสมัย. สารศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. 7(4), 5.
นิคม มูสิกะคามะ. (2547). สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปาการ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง.
ปัญญลักษณ์ อุดมเลิศประเสริฐ และ ประสิทธิ์ชัย วีระยุทธวิไล. (2552). ห้องเรียนของผู้นำฮาร์วาร์ต. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2553). พลังวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สันติสิริการพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
. (2552). วิสันทัศน์ศิลปวัฒนธรรม หนังสือชุด สุจิปุลิ. (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ)
สดใส ขันติวรพงศ์. (2552). ครูในฐานะพูดทำงานทางวัฒนธรรม (Teachers as Cultural Worker, Paulo Freire). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.
หลง ไชยลังกา. (2555). สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2555.
ลำดวน ธะนะ. (2555). สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2555.