แรงบันดาลใจจากโควิด-19 สู่การออกแบบลวดลายและผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
แรงบันดาลใจจากโควิด-19 สู่การออกแบบลวดลายและผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาลักษณะโครงสร้างของไวรัสโคโรนาเพื่อเป็นแนวทางในการถอดแบบลวดลาย2) เพื่อออกแบบลวดลายผ้าจากโครงสร้างของไวรัสโคโรนาโดยใช้กรรมวิธีมัดย้อมสีธรรมชาติสู่แนวทางแฟชั่นนิวนอร์มอล(New normal) รูปแบบชุดสำเร็จรูป(Reay to Wear) 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์แฟชั่นนิวนอร์มอล (New normal)การดำเนินงานวิจัย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางการแพทย์เกี่ยวกับโควิด-19 (COVID-19)ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลาย และการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย และผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติและประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มสตรีวัยรุ่น อายุ 16-23 ปี จำนวน 100 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ไวรัสโคโรนาไม่มีสี สีที่เห็นเกิดจากการย้อมขึ้นมาเองมองเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน (Electron Microscope, EM) สีของไวรัสจึงไม่ได้มีการแปรผันที่แน่นอนและชัดเจน รูปร่างรูปทรงมีลักษณะเด่นเป็นวงกลมหรือวงรี มีปุ่มยื่นออกมารอบๆตัว 2) ออกแบบและสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีมัดย้อมชิโบริ (Shibori) ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากคราม ดาวเรือง และฝางออกแบบเครื่องแต่งกายสไตล์ตรีท(Street style) จำนวน 5 ชุดผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย กระเป๋า หมวก และหน้ากากอนามัย 3) ผลการประเมินความพึงใจด้านลวดลาย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) ด้านประโยชน์การใช้สอย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.20) ด้านคุณค่าและความงามอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.20) และด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28)
Article Details
References
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์. (2560). การศึกษาคุณลักษณะดอกบัวแดง เพื่อถอดแบบลวดลายสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 9 (2), 34-47.
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php.
คลังความรู้สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2563). หน้ากากอนามัยกับโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=976.
ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์, พริยะ แก่นทับทิม และประเทืองทิพย์ ปานบำรุง. (2557). รายงานวิจัยการพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้ามัดย้อมด้วยการย้อมจากสีธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
อานนท์ เศรษฐเกรียงไกร. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco-Innovation Textile). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
Bareo & isyss. (ม.ป.ป.). Indigo-dye เสน่ห์การตกแต่ง ด้วยผ้ามัดย้อมคราม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จากhttps://www.bareo-isyss.com/service/design-tips/indigo-dye.
Southan, Mandy. (2552). Shibori Designs & Techniques. Singapore : Page One. PublishingPte Ltd.
NETSEPIA. (2561). สตรีทแฟชั่น สุดเก๋ ดูดีไม่มีเอาท์ แต่งตามได้ไม่ยาก. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563, จาก https://netsepia.com/street-fashion-mix-match/.
Sakchira Wiengkao. (2563). COVID DESIGN. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.facebook. com/sakchira.wiengkao