การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชนเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชนเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกอัตลักษณ์ชุมชนตำบลเมืองพาน 2) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้แก่กลุ่มชุมชนเมืองพาน ขอบเขตพื้นที่ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประกอบไปด้วย 15 หมู่บ้าน จำนวน 7 กลุ่มชุมชน แยกเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง 6 กลุ่ม และงานจักสาน 1 กลุ่ม สอบถามผู้บริโภค 100 คน ต่อ 1 ผลงานนักศึกษายุวชนอาสา รวมทั้งสิ้น 900 คน พบว่าอัตลักษณ์ชุมชนเมืองพานที่ชัดเจนที่สุด คือ สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทซึ่งสัมพันธ์กับคำขวัญของตำบลเมืองพาน การออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถดึงจากรูปร่าง รูปทรงโบราณสถาน ลวดลายฝาผนังถ้ำ และลายพระพุทธบาทบัวบก แต่การใช้งานชาวบ้านมีความเชื่อว่าสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทมีความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะหอนางอุสา และพระพุทธบาทบัวบก การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงให้คำนึงในการใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่จำนวน 9 ชุดผลิตภัณฑ์ เหตุผลในการซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของผู้บริโภค ลำดับ 1 คือ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสามารถสื่อถึงสถานที่ท่องเที่ยวนั้นได้ ร้อยละ 35.6 ลำดับที่ 2 รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่สวยงาม ร้อยละ 30.2 และลำดับที่ 3 ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 16.8 เมื่อได้รูปแบบที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ทำการผลิตต้นแบบ และนำไปประเมินที่กลุ่มชุมชนด้วยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของโครงการ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.64) ความพึงพอใจต่อภาพรวมการจัดโครงการ ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.86)
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2561). อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563. จาก http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phuphrabat/index.php/th/.
มิวเซียมไทยแลนด์. (2562). อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563. จากhttps://www.museumthailand.com/th/museum/Phu-Phrabat-Historical-Park.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2552). ศิลปะพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทคอมแพคท์พริ้น จำกัด.
อ้อยใจ เลิศล้ำ. (2553). การพัฒนาการออกแบบ : พื้นฐานการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.