การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

จันทิมา ปกครอง
ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม
จาตุรันต์ จริยารัตนกูล
ประดิพัทธ์ วิรามร
ณัฐวุฒิ ขันโพธิ์น้อย
ชาริสร์ เสนาป่า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก 2) เพื่อประเมินผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยได้จำนวน 17 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยประเภทประติมากรรมแบบลอยตัวจำนวน 3 ผลงาน และแบบนูนต่ำ จำนวน 4 ผลงาน ประเภทจิตรกรรมสีน้ำ สีโปสเตอร์ สีไม้ และดินสอ EE จำนวน 5 ผลงาน และประเภทภาพพิมพ์ (สกรีน) จำนวน 5 ผลงาน พร้อมการออกแบบเป็นสินค้าที่ระลึกและบรรจุในบรรจุภัณฑ์จากกระดาษสา จากนั้นนำไปจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์และสำรวจความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง พบว่า ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนและงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผลงานที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผลงานจิตรกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58) ผลงานบรรจุภัณฑ์กระดาษสา อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.55) และผลงานภาพพิมพ์ (สกรีน) อยู่ในระดับมากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย 4.51) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิจฐิมญศ์ ลิมปนารมณ์. (2561). การศึกษารำมังคละในเขต อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. สักทองวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(ฉบับพิเศษ), 31-41.

ฐารินี นวนแหยม และคณะ. (2546). ประวัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561, จากhttps://www.facebook.com/องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม.

นวภรณ์ ศรีสราญกุลวงศ์. (2556). การออกแบบของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา, 5(2), 49-58.

ผจญ พูลด้วง. (2561). อบต.คอรุม เร่งเพาะพันธุ์ “ไก่เขียวพาลี” ไก่ “พระยาพิชัยดาบหัก” พร้อมอนุรักษ์ตลอดไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562. จาก. http://pitloknews.com/main/?p=162395.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2550). มนุษย์และการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ไศลเพชร ศรีสุวรรณ. (มปป.) ของขวัญ ของที่ระลึก. ปทุมธานี : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561, กรกฎาคม –ธันวาคม). การพัฒนาสินคาที่ระลึกทางการทองเที่ยวโดยชุมชนบานบากชุม ตําบลโนนกอ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร, 9(2), 20-47.

องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม. (2564) : ประวัติตำบล. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564. จาก. https://www.korrum.go.th/condition.php

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2563, มกราคม-มิถุนายน). “ลาว” อุตรดิตถ์: ชาติพันธุ์สืบสายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธุ์. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 11(1), 66-101.