การออกแบบชุดจาน ด้วยเทคนิคดินสี แรงบันดาลใจจากฮูปแต้มอีสาน

Main Article Content

จารุวรรณ สวัสดี
ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์เครื่องเคลือบดินเผาเทคนิคดินสี ศึกษาลักษณะองค์ประกอบฮูปแต้มอีสานวัดไชยศรี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบลวดลายจาน และเพื่อออกแบบชุดจาน ด้วยเทคนิคดินสี แรงบันดาลใจจากฮูปแต้มอีสาน จากการศึกษาการตกแต่งเครื่องเคลือบดินเผาด้วยเทคนิคการทับซ้อนดินสี เป็นเทคนิคที่มีการรวมขั้นตอนของการขึ้นรูปและการตกแต่งเข้าด้วยกันโดยจะทำในขณะที่ดินยังนิ่มอยู่ ด้วยการผสมสีเข้าไปในเนื้อดินและขึ้นรูปชิ้นงานในแนวตั้ง การขึ้นรูปหนึ่งครั้งสามารถผลิตชิ้นงานได้เป็นจำนวนเยอะขึ้นอยู่กับความหนาของเนื้อดินที่เราได้กำหนดไว้ ลวดลายจะปรากฏทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่ในประเทศไทยยังมีผู้ที่ศึกษาเทคนิคนี้ไว้ยังมีค่อนข้างน้อยอาจจะเนื่องด้วยทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบและการขึ้นรูปผลงานนั้นมีหลายขั้นตอนจึงอาจจะทำให้ใช้เวลานาน ซึ่งในต่างประเทศนั้นได้มีการคิดค้นเครื่องอัดรีดดินด้วยมือที่ทำการขึ้นรูปด้วยเทคนิคการทับซ้อนดินสี นั้นให้สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งผู้ออกแบบได้เลือกเครื่องอัดรีดดินมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูปผลงานและออกแบบลวดลายที่มีแรงบันดาลใจมากจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน ให้มีลักษณะร่วมสมัยแต่ยังคงกลิ่นอายอีสานเพื่ออนุรักษณ์และต่อยอดศิลปะพื้นบ้านอีสาน และสร้างแม่พิมพ์สำหรับใช้ในการอัดรีดดินตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ ผลการดำเนินงานได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ภาชนะอาหารที่มีแรงบันดาลใจมากจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน จำนวน 1 ชุด ซึ่งมีทั้งหมด 6 ชิ้น ได้แก่  1) จานขนาด 17 เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ  2) จานขนาด 24 เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ และ 3) จานขนาด 27 เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ และผลิตแม่พิมพ์ขึ้นรูปด้วยการอัด การตกแต่งเครื่องเคลือบดินเผาด้วยเทคนิคการตัดต่อดินสี โดยการใช้เครื่องอัดรีดดินนั้นสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว แม่พิมพ์ที่ใช้ในการอัดรีดหากมีขนาดบางจะทำให้ดินที่อัดรีดออกมานั้นม้วนเป็นเกลียวได้ จึงต้องเพิ่มขนาดความหนาของแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ส่วนประกอบตรงตามแบบที่ได้กำหนดไว้ ในส่วนของขนาดของชิ้นงาน จากผลของการศึกษานั้นเทคนิคนี้เหมาะที่จะสร้างผลงานขนาดเล็ก เพราะหากเป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่ผลงานจะมีโอกาสในการชำรุดเสียหายได้มากซึ่งมีผลเนื่องจากการขึ้นรูปของผลงานที่มีขนาดใหญ่อาจส่งผลให้ความชื้นในผลงานนั้นมีขนาดที่ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2564). วัดชัยศรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564. จาก. https://cac.kku.ac.th/esanart/main.html.

สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: 50 press Printing.

Rahill, Faith. (2012). Decorating with Nerikomi Colored Clay Patterns. [Online]. Available from: https://ceramicartsnetwork.org/daily/article/Creating-Nerikomi-Blocks-Decorating- with-Colored-Clay-Patterns.

Mossman, Anne. (2018). Nerikomi–a focus on colored clay, the process and artists. The Journal of Australian Ceramics.

Thivo's Nerikomo Art. (2017). Nerikomi Technique. [Online]. Available from: http://www.thivo.com.