การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี จากแรงบันดาลใจเครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พนาดร ผลัดสุวรรณ
ธีระยุทธ์ เพ็งชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากแรงบันดาลใจเครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบลวดลายและรูปแบบเครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียง  2) ออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี โดยใช้แรงบันดาลจากเครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียง 3) ประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องแต่งกายที่ออกแบบใหม่ โดยผู้ให้ข้อมูลและใช้เครื่องมือการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียงและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบจากกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุระหว่าง 20 – 25 ปี จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สรุปผลการวิจัย พบว่า เครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียงเป็นเครื่องสัมฤทธิ์อายุราว 2,300 – 1,800 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นในประเภทเครื่องประดับ เช่น กำไลข้อมือ ปล้องแขน ลูกกระพรวน และห่วงคอ โดยปรากฏลักษณะลวดลายที่เด่นชัดเป็นลวดลายวนก้นหอยเช่นเดียวกับลวดลายบนภาชนะดินเผา โดยบริเวณผิวเครื่องสัมฤทธิ์มีสนิมที่เกิดการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในจึงนำลักษณะลวดลายและพื้นผิวที่เกิดจากสนิมบนเครื่องสัมฤทธิ์ มาใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี สไตล์สตีท แวร์ (Street Wear) จำนวนทั้งสิ้น 5 ชุด โดยใช้ลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องสัมฤทธิ์ บ้านเชียง นำมาถอดลวดลาย และนำมาออกแบบเป็นแพทเทิร์นใหม่ เทคนิคที่ใช้ประกอบด้วย การย้อมสีจากสนิม การพิมพ์ลายลงบนผ้า ผสมกับการปั๊มลายจากแม่พิมพ์ลงบนผ้าฝ้าย โทนสีหลักประกอบด้วย สีเขียวจากสนิมของสัมฤทธิ์ สีส้มจากเทรนด์สปริงซัมเมอร์ 2019 และสีเหลืองจากการรวบรวมรูปแบบเสื้อผ้าที่เป็นที่นิยมจากงานแฟชั่นวีคในช่วงปี 2018 - 2019  แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมจากกลุ่มสตรีอายุ 20 – 25 ปี โดยสรุปพบว่า ชุดที่ 1 มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.40) ชุดที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.29) ชุดที่ 3 มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.34) ชุดที่ 4 มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.16) ชุดที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.32)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (ม.ป.ป). แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีสามมิติ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561, จากhttp://www.finearts.go.th/banchiangmuseum.

นิติ นิมะลา. (2559). การออกแบบเครื่องประดับสตรีร่วมสมัยจากแรงบันดาลใจสำริดบ้านเชียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข. (2561). Contemporary Southern Batik by OCAC. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561 https://www.ellethailand.com/efwfw2019-contemporary-southern-batik-by-OCAC/

วิลภา กาศวิเศษ. (2553). การพัฒนาลวดลายเพื่องานออกแบบจากศิลปกรรมบ้านเชียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สหวัฒน์ แน่นหนา. (ม.ป.ป.). การเพิ่มต้นทุนทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561, จาก http://www.finearts.go.th.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (ม.ป.ป.). องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561, จาก http://ocac.go.th/wp-content.

Dorling Kindersley. (2012). Fashion: The Ultimate Book of Costume and Style.

England : DK.

Senthilnathan, S. (2561). New Trends in Garment Dye. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561,

จาก https://www.fibre2fashion.com.