หีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านอีสาน กับประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม

Main Article Content

วิลาสินี ขำพรหมราช

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง หีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านอีสาน กับประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม เป็นบทความวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านอีสานกับ ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรม ซึ่งปัจจุบันกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่ภาคอีสาน ยังใช้ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรมเป็นเสมือนกรอบหรือแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิต จนเกิดวัฒนธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมในวิถีพื้นบ้านอีสาน โดยบทความนี้มุ่งศึกษาข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสังเกตและสัมภาษณ์รูปแบบของหีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านอีสาน ที่พบเห็นในท้องตลาดและสถานที่ต่างๆในพื้นที่ภาคอีสาน และวิเคราะห์หาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบหีบห่ออาหารที่พบกับ ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมที่คนอีสานยึดถือและปฏิบัติผ่านแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ โดยผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนกำหนดรูปแบบของหีบห่ออาหาร ทั้งด้านรูปลักษณ์และการใช้งาน ดังนั้นหากประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรมได้รับการสืบทอดและผู้คนยังคงยึดถือและปฏิบัติต่อไป จะสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการอนุรักษ์รูปแบบหีบห่ออาหารในวิถีพื้นบ้านให้คงอยู่ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้พบเห็น และทราบซึ้งถึงภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้ร่วมสร้างกันไว้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤษฎา ดูพันดุง. 2559. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติและกระดาษ. นครราชสีมา: สำนักพิมพ์

ชาติชาติ อนุกูล. 2554. วัฒนธรรมการห่อของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดลพบุรี : กรณีศึกษาศิลปอัตลักษณ์และความหมายแฝง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรมวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ชูเกียรติ อ่อนชื่น. 2563. หีบห่อขนมไทย : ภูมิปัญญาท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 24(2), 113-126.

ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์. 2558. ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2542). ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนิดา บุญเทพ. (2548). บ้านขะยูง: ประเพณี ความเชื่อและการยังชีพ. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ยศ สันตสมบัติ. (2544) . มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน 2554. จาก https://dictionary.orst.go.th/. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.

วิไล อัศวเดชศักดิ์. (2560). โครงสร้างบรรจุภัณฑ์กระดาษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

สาขาบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2543). เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์โกลบอลวิชั่น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2557). ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล, พยูร โมสิกรัตน์ และมาลินี วิกรานต์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องหีบห่อจากวัสดุธรรมชาติ การศึกษางาน ออกแบบเพื่อการอนุรักษ์. นครปฐม: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.