การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าข้าวพื้นถิ่นศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ทักษ์ดนัย เหล่าจูม
กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าข้าวพื้นถิ่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าข้าวพื้นถิ่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมินความพึงพอใจ โดยผ่านการตรวจสอบและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 3 ท่าน จากการสัมภาษณ์ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าจากตัวแทนในศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ พบว่าปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ ยังขาดความเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงข้าวพื้นถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์เกิดความโดดเด่นและแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ข้าวพื้นถิ่นของจังหวัดอื่นๆ ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อทำการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และนำไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 3 ท่าน เพื่อเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด หลังจากผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแล้ว ผู้วิจัยจึงนำไปผลิตเป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จากนั้นนำไปประเมินความพึงพอใจ ณ บริเวณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จากกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 169 คน พบว่า ผลจากการประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ พบว่าการออกแบบตราสินค้า อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และความพึงพอใจโดยรวมจากกลุ่มผู้บริโภค อยู่ในระดับ ความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 ผลของงานวิจัยในครั้งนี้ ทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์มีความสนใจและมีแนวคิดที่จะนำผลงานการออกแบบไปพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตและจำหน่ายได้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฏา ดูพันดุง. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า กลุ่มจักสานไม้ไผ่ บ้านดงเย็น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1)

ณธกร อุไรรัตน์. (2559). การศึกษาเพื่อพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2563, จาก http://www.tnrr.in.th.

นิรชา ศรีภิลา และ กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกฮายักษ์. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย. 2(1)

พบพร เอี่ยมใส, อภิสักก์ สินธุภัค และ อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2558). ปัจจัยด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์กับการรับรู้ประเภทและคุณค่าของสินค้า: กรณีศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้บรรจุภัณฑ์ประเภท สินค้าอุปโภคข้ามวัฒนธรรม. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(1)