การพัฒนาผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มคําบงแฮนด์คราฟ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์
จุมพล ทองจำรูญ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง การพัฒนาผ้าทอและผลิตภัณฑ์ผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มคําบงแฮนด์คราฟ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบทความประเภทผลงานวิชาการรับใช้สังคมโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผ้าทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยกระดับเกิดรายได้ของกลุ่มกลุ่มคําบงแฮนด์คราฟ ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ10 โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือกลุ่มคําบงแฮนด์คราฟ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มจำนวน 31 คน นักวิจัยจำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการตลาดจำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง  การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบประเมินมาตรประมาณค่า ผลการดำเนินพบว่า ในด้านการพัฒนาผ้าทอ การดำเนินงานมีการนำเทคนิคที่กลุ่มเชี่ยวชาญคือการพิมพ์ใบไม้บนผ้าซึ่งเป็นเทคนิคใหม่และเทคนิคการขิดโดยเส้นยืนใช้การพิมพ์ใบไม้บนเส้นใยส่วนเส้นพุ่งใช้การขิดและจกสลับสีก่อนจะนำมาตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการปักและการการพิมพ์ใบไม้บนผ้าครั้งที่สองโดยนำเอาลวดลายขิดแบบโบราณมาประยุกต์ใช้ผลการดำเนินงานพบว่าลวดลายผ้ามีความสวยงาม แปลกตาและยากต่อการเลียนแบบ ส่วนในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าที่ฐานลูกค้าเดิมสนใจนำมาพัฒนาประกอบด้วยเสื้อ  ผ้าพันคอ กระเป๋าและย่าม โดยผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่าลวดลายผ้าและผลิตภัณฑ์มีผลประเมินโดยรวมเฉลี่ย 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.06 แปลว่าผ้าทอและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สุดท้ายในด้านการยกระดับรายได้ ผลจากการดำเนินโครงการเมื่อเก็บรวบรวมจำนวน 5 เดือนและเทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโครงการ (ปี 2564) พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.02 แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการขายและการขายออนไลน์ผ่านเพจของกลุ่มประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่กำหนดในตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจะโซะ เจะนุและคณะ. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ 7C ที่ส่งผลต่อความสําเร็จของเว็บไซต์ Noon.com. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 21(1): 137-150.

ฐปนัท แก้วปานและคณะ. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2): 161-182.

ณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร. (ออนไลน์). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม:หลักการและแนวคิดสําคัญ. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565, จาก https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/542018-05-04.pdf

เทศบาลตำบลคำบง. (ออนไลน์). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565, จาก http://khambong-ks.go.th/index.php?op=dynamiccontent&id=13659.

นินนาท อ่อนหวานและคณะ. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “หมู่บ้านเชิงดอยใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ตําบลสบเตี๊ยะ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้งาน หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ปาลิดา วังซ้าย. (สัมภาษณ์) ประธานกลุ่มคำบงแฮนด์คราฟ, กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ (ผู้สัมภาษณ์), 21 มิถุนายน 2565.

พนาดร ผลัดสุวรรณ และธีระยุทธ์ เพ็งชัย. (2565). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากแรงบันดาลใจเครื่องสัมฤทธิ์บ้านเชียง. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 3(1): 86-106.

รัถยานภิศ พละศึกและคณะ. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 211-223.

วราภรณ์ บันเล็งลอย กัญญาณัฐ ทรวงถูก และพรพิริยา ลาดหนองขุ่น. (2565). การออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าพิมพ์ลวดลายด้วยพืชพรรณไม้. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม. 1(1), 32-42.

Nurcahyanti Desy and Septiana Ulfa. (2018). Handmade Eco Print as a Strategy to Preserve the Originality of Ria Miranda’s Designs in the Digital Age. MUDRA Journal of Art and Culture. 33(3), 395 – 400.

Nuryawan Arif. (2020). Eco-print on Recycle Paper and Fabric as Main Products of Business Development Program of Intellectual Property Campus of Universitas Sumatera Utara ใน Proceedings of the 4th International Symposium of Arts, Crafts & Design in South East Asia (ARCADESA). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3807698#.

Waluyanto Heru Dwi / Natadjaja Listia and Wijayanti Ani . (2021). Exploration of Eco-Print Products Through Participatory Rural Appraisal and Service-Learning Method in Blitar Regency ใน Proceedings of the 4th International Symposium of Arts, Crafts & Design in South East Asia (ARCADESA) สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565, จาก https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3807698#.