การบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสมาชิกชุมชน

Main Article Content

รจนา จันทราสา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสมาชิกชุมชน การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ 2) เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเพิ่มผลผลิตมูลค่าสินค้าและบริการ         3) เพื่อขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ของกลุ่มโอทอป วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงกลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) วิเคราะห์งานวิจัยจำนวน 33 เรื่อง ผลวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสมาชิกชุมชน การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่ม มีข้อค้นพบ คือ การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน การพัฒนาและยกระดับ การเพิ่มศักยภาพงานหัตถกรรมแบบมีส่วนร่วม กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดสินค้า การพัฒนารูปแบบระบบ โลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน การนำกลับมาใช้ใหม่ของวัสดุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การพัฒนากระบวนการต้นน้ำการผลิต นโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมตามกรอบธรรมาภิบาล การปรับปรุงกระบวนการผลิต การใช้ศักยภาพของทรัพยากรชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดระบบซัพพลาย การยกระดับคุณภาพมาตรฐาน การลดความสูญเสียในกระบวนการโลจิสติกส์ 2) การนำเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเพิ่มผลผลิตมูลค่าสินค้าและบริการ มีข้อค้นพบ คือ การพัฒนาแอพพลิเคชันบนมือถือในห่วงโซ่อุปทานเฉพาะส่วนการตลาด การจัดจำหน่ายและการขนส่งกระจายสินค้าระบุพิกัด การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าเพื่อการส่งออก เพื่อขยายตลาดและเพิ่มผลผลิตเป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ ให้มีความแตกต่างและเป็นการเพิ่มมูลค่า ผ่านช่องทาง ออนไลน์บนระบบแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้เข้าถึงมากขึ้น 3) การขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์มีข้อค้นพบ คือ ผลสำเร็จขององค์การธุรกิจสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเลิศ นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของธุรกิจเกิดใหม่ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนในบริบทต่าง ๆ  โดยใช้กรอบแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรม และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นำมาขับเคลื่อนเพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการชุมชน และเพิ่มศักยภาพชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา โภคานิตย์ และ คณะ. (2562). ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากโดยแนวทางประชารัฐตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 278-289.

ณรงค์ อนันต์เลิศสกุล และ จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป กรณีศึกษา ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 128-135.

พิสิษฐ์ พงศาปรมัตถ์, ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2561). การพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็งจากการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวง. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1), 112-125

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์ และสรานันทน์ อนุชน. (2561). เทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 27-32.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 -2549. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 57-70.

Ahmed, S., & Eklund, E. (2019). Rural Accessibility, Rural Development, and Natural Disasters in Bangladesh. Journal of Developing Societies, 35(3), 391-411.

Forrest, J. (2017). Rural Development and Food Security in the 21st Century: A Review and Proposal. Journal of Developing Societies, 33(4), 448-468.

Schmidt, E. (2006). Sustainable Community for Sustainable Development. Journal of Developing Societies, 22(4), 379-400.