การวิเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมเพื่อจำแนกจุดอ่อน สู่การออกแบบสร้างสรรค์ในอนาคต

Main Article Content

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม ที่ทำการสร้างขึ้นสำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปประเด็นชุดข้อมูลที่มีความสำคัญ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม แม้ว่าผลลัพธ์ของกรอบแนวความคิดนี้จะมีเนื้อหาที่ครอบคลุม สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ตามหลักการทางวิชาการได้ แต่ยังคงมีข้อบกพร่องและจุดอ่อน ที่ต้องทำการแก้ไขเพื่อให้ให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้นก่อนนำไปใช้ ทั้งนี้จุดอ่อนนั้นแฝงไปด้วยกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ที่นักออกแบบส่วนมากมองข้ามและไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วน ครอบคลุม อาทิ วัตถุประสงค์ของการออกแบบสร้างสรรค์  เกณฑ์และเงื่อนไขของภาครัฐที่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ความเข้าใจของผู้บริโภค หรือแม้กระทั้ง มุมมองของนักออกแบบที่มุ่งหวังเพียงความพึงพอใจของตนโดยมิได้สรุปได้ว่าเมื่อออกแบบสร้างสรรค์แล้วจะส่งเสริมหรือผลักดันผลงานนั้นไปในทิศทางใด กรอบแนวคิดที่ถูกทดลองสร้างขึ้นจึงเป็นเพียงชุดข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เบื้องต้นเพียงตอบสนองวัตถุประสงค์บางอย่างเท่านั้น การวิเคราะห์จุดอ่อนของกรอบแนวคิดนี้จะสามารถขยายมุมมองและเปิดกว้างชุดข้อมูลให้มีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้นสำหรับนำไปใช้ ในทุกๆภาคส่วนที่มีความสำคัญ ผลักดันการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ว่าด้วยภูมิปัญญาและใช้มิติทางวัฒนธรรม ได้อย่างเหมาะสมในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น   

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2552). การศึกษาและพัฒนาการนำเอาเส้นใยพืชผักตบชวามาประยุกต์เข้า

กับการดุนลายอลูมิเนียมเพื่อนำมาออกแบบเครื่องเรือนในสไตล์ล้านนา. ลำปาง: สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง: วิจัยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัย

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552.

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2560, กรกฎาคม – ธันวาคม). พัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้กรอบแนวคิด

การออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2): 333-366.

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2563, มกราคม – มิถุนายน). แนวคิดการนำมิติทางวัฒนธรรมสู่การออกแบบสร้างสรรค์ที่

สับสน. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2): 20-41.

กุศล พิมาพันธุ์ศรี. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยวิศวกรรมคันไซ New Product Development Using

Kansei Engineering. การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดาเนินงานทางอุตสาหกรรม

แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ( CIOD 2011). กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าพระนครเหนือ.

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2549). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของใช้

ของตกแต่งบ้านแนวทางล้านนา. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบแนวทางล้านนา. เชียงใหม่:

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ป.

ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2547). มิติทางวัฒนธรรมกับการออกแบบ” Design Education 2 รวมบทความทาง

วิชาการบทความวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงอรุณ รัตกสิกร, นิจ หิญชีระนันทน์, จุลทัศน์ พยาฆรานนท์, ฉวีงาม มาเจริญ, บุหลง ศรีกนก และเบญจมาส

แพทอง. (2551). ลักษณะไทย วัฒนธรรมพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

Anitawati Mohd Lokman & Nagamachi. (2009). DESIGN & EMOTION: THE KANSEI ENGINEERING

METHODOLOGY. Malaysia: Faculty of Computer and Mathematical Sciences, Universiti

Teknologi MARA (UiTM) Malaysia.