คตินิยมเชิงสัญลักษณ์บนผืนผ้าของชาวภูไทย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคตินิยมเชิงสัญลักษณ์บนผืนผ้าของชาวภูไท อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการศึกษานั้น ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ชุมชน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในลักษณะการสนทนากลุ่ม จากสมาชิกกลุ่มทอผ้าศูนย์ดำรงธรรมประจำหมู่บ้านสิงห์สะอาด ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์พบว่า สัญลักษณ์ต่างๆที่ถ่ายทอดลงมาบนผืนผ้า ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นรูปทรงธรรมชาติและเรขาคณิต ซึ่งลวดลายต่างๆประกอบขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายในด้านความเป็นมงคลชีวิต จำแนกสัญลักษณ์บนผืนผ้าได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ลวดลายพรรณพฤกษา ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากพืชต่างๆ มีความหมายในเชิงความรัก ความสดชื่น ความเจริญรุ่งเรือง การสักการะบูชา 2) สัญลักษณ์ลวดลายเกี่ยวกับของใช้ ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากของใช้รอบตัว มีความหมายในเชิงความเจริญรุ่งเรื่อง 3) สัญลักษณ์ลวดลายเกี่ยวกับดวงดาว ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากดวงดาวบนท้องฟ้า มีความหมายในเชิงความเจริญ ความมีอำนาจ ความก้าวหน้า และความเฉลียวฉลาด 4) สัญลักษณ์เกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์ต่าง ๆ รอบตัวที่มีการพบเห็น มีความหมายในเชิงการนับถือ น่าเคารพบูชา มีความศักดิ์สิทธิ์ การพัฒนาลวดลายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มีลักษณะเป็นการสืบทอดสัญลักษณ์ตามคตินิยมแบบดั้งเดิม และการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบสัญลักษณ์ใหม่ เช่นการพัฒนาลวดลายไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์ที่มีการขุดค้นพบใหม่ ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวภูไทดั้งเดิมไม่เคยรู้จักมาก่อน และลายผ้าต่าง ๆ ที่ทำขึ้น เป็นสัญลักษณ์ที่มีการเชื่อมโยงกับคติและความนิยมของชุมชน และเกิดความงานในเชิงศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านนั่นเอง
Article Details
References
จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย : กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทยลื้อ บ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ณัฐชนา นวลยัง.(2557). เครื่องแต่งกายที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2557.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงนภัส ศรีสงคราม.(2547). การสื่อสารทางวัฒนธรรมด้านอัตลักษณ์และสัญญะวิทยาของชาวไทยโซ่ง.ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).
ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. (2525). มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชาวบ้าน,กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
เลิศฤทธิ์ ใหม่ประเทศ.(2552). การวิเคราะห์สัญญะของหมู่บ้านม้งดอยปุยเพื่อการออกแบบเว็บไซด์ส่งเสริมการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชราภรณ์ จันทนุกูล. (2561). มรดกทางภูมิปัญญา : อัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนภาคพื้นไทย ลาว และกัมพูชา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิลาสินี ขำพรหมราช. (2564). การออกแบบของที่ระลึกจากรูปแบบและคติสัญลักษณ์งานศิลปกรรมชนเผ่าแขวงเซกอง. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภารีย์ เถาว์วงศ์ษา. (2555). กรอบแนวคิดทางการออกแบบเครื่องประดับเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมผ่านการศึกษาความหมายด้วยรูปสัญญะและความหมายสัญญะ. กรุงเทพมหานคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
อติกานต์ สุทธิวงษ์ และ ศุภรัก สุวรรณวัจน์ (2559). การออกแบบลายพิมพ์ผ้าตีนจกสำหรับสร้างสรรค์แฟชั่นร่วมสมัย จากภูมิปัญญาไทยพวน จังหวัดสุโขทัย.วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(2) กรกฎาคม - ธันวาคม 2559.