การศึกษาวัสดุกรองขยะอินทรีย์เพื่อกำหนดรูปแบบถังขยะอินทรีย์สำหรับผู้สูงอายุภายในคอนโดมิเนียม

Main Article Content

อาริยา อัฐวุฒิกุล
ณัฐวิชช์ คชแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการจัดการ การคัดแยก และการนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ภายในคอนโดมิเนียม โดยนำทฤษฎีมนุษย์ปัจจัยสำหรับการออกแบบมาใช้ควบคู่กับการเก็บข้อมูลภาคสนามจากพฤติกรรมการใช้งานทิ้งขยะอินทรีย์ของผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบศึกษา แบบค้นหา และการคัดเลือกการใช้ผลิตภัณฑ์กรองขยะอินทรีย์จำนวน 3 รูปแบบ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ภายในกรุงเทพมหานครฯ และทำการทดลองเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กรองขยะอินทรีย์จำนวน 3 แบบ ได้แก่ M1 M2 และ M3 นำไปให้กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 8 ท่าน ที่อาศัยอยู่ภายในคอนโดมิเนียมทดลองใช้งานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ก่อนใช้งาน 2) หลังจากการใช้งานไป 1 สัปดาห์ และ 3) หลังจากการใช้งาน 4 สัปดาห์ รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การประเมินและวัดผลจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัสดุกรองขยะอินทรีย์ตามท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ ผ้า โลหะ ซิลิโคน และพลาสติก 2) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการจัดการ การคัดแยก และการทิ้งขยะอินทรีย์ภายในคอนโดมิเนียม โดยการคัดแยกขยะอินทรีย์หลังจากการรับประทานอาหารด้วยวิธีการใส่ถุงพลาสติก (M1) ภาชนะพลาสติก (M2) และแผ่นซิลิโคน (M3) เนื่องจากการใช้งานยังคงมีน้ำที่ไหลจากขยะอินทรีย์ ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องนำถุงพลาสติกมารองรับน้ำอีกชั้นหนึ่ง และหลังจากการใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว ผู้สูงอายุนำขยะและน้ำจากขยะอินทรีย์ไปทิ้งทุกครั้งหลังจากการประกอบและรับประทานอาหารในถังขยะอินทรีย์เป็นขั้นตอนสุดท้าย และ 3) ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเลือกผลิตภัณฑ์ภาชนะพลาสติกสำหรับกรองขยะอินทรีย์ (M2) เนื่องจากมีข้อดีในการใช้งานสะดวกและง่ายต่อการจัดการหลังจากการใช้งาน และข้อเสียคือมีขนาดสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่เกินไปสำหรับพื้นที่การใช้งานสำหรับผู้ใช้งาน งานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปต่อยอดทางด้านการออกแบบวัสดุกรองขยะอินทรีย์สำหรับผู้สูงอายุและคนทั่วไปภายในพื้นที่พักอาศัยที่มีขนาดจำกัดต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). การจัดการขยะมูลฝอย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. http://www2.pcd.go.th.

กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564. กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.

เกศกนก อู่แสงทอง และสันติธร ภูริภักดี. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม. เจริญจิตต์ ผจงวิริยาทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครของประชากรในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตติมา เชาว์แก้ว. (2565). แนวทางการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา พื้นที่ส่วนราชการเขตเทศบาล ตำบลปลายพระยา จังหวัดกระบี่. Journal of Architecture/Planning Research and Studies (JARS). 19(1): 2002. pp. 65-82.

เจริญจิตต์ ผจงวิริยาทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตวงพร นุตบุญเลิศ และคณะ. (2560). การใช้การยศาสตร์ในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในภาคตะวันออก. สุทธิปริทัศน์. 31(100) ตุลาคม - ธันวาคม 2560, 13-25.

ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นาฏธิชา จ้อยปาน. (2558). โครงการจัดตั้งธุรกิจคอนโดมิเนียมสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท ออล พร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด. (2562). รับมือสังคมผู้สูงอายุวัย: ความท้าทายของคนวัยเกษียณอยากมีบ้าน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. https://www.ddproperty.com/ข่าวอสังหาริมทรัพย์-บทความ/ 2019/4/179348/รับมือสังคมผู้สูงวัย.

บุญญิสา แสงจันทร์. (2556). สิ่งคุกคามสุขภาพและปัญหาสุขภาพจากการทำงานของคนงานในร้านรักซื้อของเก่า เขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรีมาดา ฉลองชัยสิทธิ์. (2558). พฤติกรรมและความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการจัดการขยะ กรณีศึกษาคอนโดมิเนียมเขตห้วยขวาง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2555). การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชน ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ. (2563). การจัดการขยะของกรุงเทพมหานคร (BMA Waste Management). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานแผนงานและประเมินผล กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.

วราวุฒิ มหามิตร. (2566). บทบาทของผู้สูงอายุในการจัดการขยะพลาสติก (ถุงแกง) โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(1): มกราคม-เมษายน 2566, 14-24.

ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรบควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2563. คู่มือการกรอกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย ปี พ.ศ. 2563 ตามแบบ คพ. 1 2 และ 3. กลุ่มงานแผนงานและประเมินผล กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักสิ่งแวดล้อม. 2562. แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562 สำนักสิ่งแวดล้อม. กลุ่มงานแผนงานและประเมินผล กองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.

สิริฉัตร ศิริสรรหิรัญ. 2560. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมร อภิสิทธิ์อมร. 2561. พฤติกรรมและการรับรู้ของประชาชนในการจัดการขยะครัวเรือนกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Khai Lun Ong, Guneet Kaur, Nattha Pensupa, Kristiadi Uisan, and Carol Sze Ki Lin. (2018). Trends in food waste valorization for the production of chemicals, materials and fuels: Case study South and Southeast Asia. Bioresource Technology, 248(Part A) January 2018, 100-112.

Markiwicz Anna, Strömvall Ann-Margret, and Björklund Karin. (2020). Alternative sorption filter materials effectively remove non-particulate organic pollutants from stormwater. Science of The Total Environment, 730(15 August 2020), 139-159.

Shopee website. (2021). ถุงกรองเศษอาหาร ที่กรองเศษอาหาร และตะแกรงแยกเศษอาหาร. [Online] Available: https://shopee.co.th.