ความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ ในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา

Main Article Content

กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาและเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยใช้เครื่องมือแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามกลุ่มเป้าหมายและสังเกตพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวทั้งสองประเทศ ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ พบว่าของที่ระลึกของทั้งสองประเทศนั้นมีความคล้ายคลึงกันในบางชิ้นงานโดยจะเป็นประเภทสินค้าพื้นเมืองและสินค้าประเภทเสื้อผ้าสกรีนลวดลายและมีสินค้าที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะสินค้าประเภทของประดับของตกแต่ง ซึ่งประเทศกัมพูชานั้นจะมีความหลากหลายและมีความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นมากกว่าของที่ระลึกในประเทศไทย และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เลือกซื้อของที่ระลึกในประเทศไทยจะเป็นนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในประเทศมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งตรงข้ามกันกับในประเทศกัมพูชาที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะนิยมซื้อของที่ระลึกมากกว่าคนในพื้นที่โดยจะนิยมซื้อเพื่อนำไปเป็นของฝากของที่ระลึกและนำไปประดับตกแต่งหรือสะสมเก็บไว้เอง และจากการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของทั้งสองประเทศนั้น ประเด็นทางด้านบริบทพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ประเด็นทางด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ประเด็นทางด้านการส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเด็นทางด้านความโดดเด่นของศิลปวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านวัตถุดิบและศักยภาพของผู้ผลิตที่แตกต่างกัน และประเด็นทางด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ วิไลโอฬาร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างเครื่องมือที่ระนึกในเมืองหลวงพระบาง. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและ วัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กฤษฎา พิณศรี. (2553). ศิลปกรรมแบบเขมรในจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์. โรงพิมพ์วินัย.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบ และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ. อันลิมิต พริ้นติ้ง.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และศานติ ภัคดีคำ. (2561). ศิลปะเขมร. กรุงเทพฯ. มติชน.

วิลาสินี ขำพรหมราช. (2564). การออกแบบของที่ระลึกจากรูปแบบและคติสัญลักษณ์งานศิลปกรรมชนเผ่าแขวงเซกอง. สาขาวิชาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศักดิ์ชาย สิกขา. (2552). ต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้าน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สันติ เล็กสุขุม. (2554). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพฯ. ด่านสุทธาการพิมพ์.

สุวภัทร ศรีทองเจือ. (2561.) การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(2), 20-47.

อภัสนันท์ ใจเอี่ยม และรจนา จันทราสา. (2563). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟสำหรับบ้านพัก อาศัยจากเศษผ้าเหลือใช้ ในอุตสาหกรรมผ้าไทย บ้านเจริญสุข จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร ศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย. 1(1), 95-107.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2560). หลักการวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.