การออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวและอัตลักษณ์ของกาแฟดงมะไฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กาแฟดงมะไฟ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดงมะไฟ บ้านดงมะไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ รวมถึงประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ 3) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติความเป็นมาและกระบวนการขั้นตอนในการผลิตกาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ในรูปแบบวีดิทัศน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟดงมะไฟ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟดงมะไฟ จากการสุ่มตัวอย่างจากบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์กาแฟดงมะไฟและชุดดริปเปอร์ เซรามิกส์มีเรื่องราวที่น่าสนใจจากการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่น การผสานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2 สิ่งมารวมกันระหว่างกาแฟดงมะไฟและดินด่านเกวียนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ โดยให้ความรู้สึกถึงคุณสมบัติของกาแฟดงมะไฟและแหล่งเพาะปลูกที่โดดเด่น ผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าโดยนำรูปทรงของเขาเควสต้า ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟเป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบตราสินค้า โดยใช้โครงสร้างสีน้ำตาลซึ่งเป็นสีของเมล็ดกาแฟสร้างกราฟฟิกลงบนบรรจุภัณฑ์ ภายใต้ชื่อชุดผลิตภัณฑ์เควสต้าดริปเปอร์เซรามิกส์ด่านเกวียนและกาแฟดงมะไฟ บ้านดงมะไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์พบว่าโดยเฉลี่ย (= 4.50) มีความพึงพอใจระดับมาก และมีความพึงพอใจที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์โดยเฉลี่ย (= 4.20) มีความพึงพอใจระดับมาก โดยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยเฉลี่ย (= 4.35) มีความพึงพอใจระดับมาก ผลการถ่ายทอดเรื่องราวกาแฟดงมะไฟผ่านวีดิทัศน์ที่สามารถรับชมโดยสแกนผ่าน QR-code บนกล่องบรรจุภัณฑ์และสร้างความน่าสนใจให้กับตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กุลชลี พวงเพ็ชร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ซอสกระท้อนแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านงิ้วราย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2), 211-228.
จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์ และคณะ. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้แช่อิ่มกรณีศึกษา : ชุมชนสี่แยกบ้านแขก แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ, 17(2), 35-44.
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of Art. อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เด่น รักซ้อน, ณัฐนนต์ สิปปภากุล และ วัชรินทร์ แซ่เตีย. (2553). การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเนื้อดินและการเคลือบ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน แก่ผู้ประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาชุมชนด่านเกวียนจังหวัดนครราชสีมา. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม และยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79-99.